ต้อลม (Pinguecula) สามารถเกิดได้ตั้งแต่วัยรุ่น จนถึงผู้สูงอายุ เพราะเกิดจากการเสื่อมของเยื่อบุตาขาว ซึ่งตรงบริเวณที่เสื่อมจะนูนเป็นสีขาว, เหลือง หรือแดงขึ้นมา โดยต้อลม จะไม่ลามไปที่กระจกตาดำ หากส่วนที่นูนเริ่มเป็นก้อนเนื้อ ลามไปที่กระจกตาดำ ก็จะเรียกว่า “ต้อเนื้อ” (Pterygium)
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิด
- ถูกรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต(UV) กระทบสายตาโดยตรงเป็นเวลานาน
- โดนลม , ฝุ่นละออง มากๆ
อาการของโรค
ต้อลม
- เริ่มมีตาแดงตรงตาขาว บริเวณหัวตา หรือหางตา ผิวตาขาวมีบางส่วนมีการนูนขึ้นมา
- ระคายเคืองตา , น้ำตาไหล
- ตาแดงง่ายเมื่อเจอฝุ่น
- สามารถมองเห็นได้ตามปกติ
ต้อเนื้อ
ส่วนที่นูนขึ้นมาจะเริ่มเป็นก้อนเนื้อ และลามเข้ามาในตาดำ ส่วนใหญ่ไม่ลุกลามเร็วจนถึงกับตาบอด แต่จะสร้างความรำคาญ จากอาการระคายเคือง
วิธีการรักษา
ระยะเริ่มแรก (ต้อลม) ถ้ายังลุกลามเข้าไปในกระจกตาไม่มาก จะใช้ยาหยอดตาแก้อักเสบ หรือน้ำตาเทียม เพื่อลดการระคายเคืองได้ ควรจะปรึกษาแพทย์ไม่ควรซื้อมาใช้เอง เพราะยาบางชนิดมีสารเตียรอยด์ ที่หากใช้นานๆ อาจลุกลามเป็นต้อหินได้
การรักษาจะไม่หายขาด เพียงแต่ใช้ยาเพื่อระงับอาการระคายเคืองเท่านั้น และส่วนใหญ่ก็จะไม่ผ่าตัด เพราะสามารถกับไปเป็นได้อีก
ระยะที่เป็นต้อเนื้อ ก็ยังรักษาด้วยยาหยอดตาอยู่
จะผ่าตัดลอกต้อ ก็ต่อเมื่อ
- มีอาการอักเสบบ่อยมากๆ
- ต้อใหญ่ และลามเข้าไปรูม่านตาตรงกลาง
- ต้อดึงรังกระจกตา ทำให้สายตาเอียงมากขึ้น หากผ่าตัดสายตาเอียงอาจจะหายไป หรืออาจจะไม่หายก็ได้
- มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ ขึ้นอยู่กับ การดูแลหลังผ่าตัด อายุ และวิธีที่ใช้ในการผ่าตัด
วิธีการลอกต้อ
จะผ่าตัดลอกต้อที่อยู่บนกระจกตาออก แล้วใช้เยื่อบุตาที่อยู่ใต้เปลือกตามาแปะไว้ตรงบริเวณที่ลอกต้อออกแทน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ โดยสามารถเปิดตาได้ในวันรุ่งขึ้น และอาจมีน้ำตาหรือ
การดูแลหลังการผ่าตัด โดยรวมจะเหมือนกับการดูแลผู้ป่วยโรคต้อกระจก
- ปิดตาหลังผ่าตัด 1-2 วัน
- ห้ามโดนน้ำ ประมาณ 1 สัปดาห์
- อย่าขยี้ตา และระมัดระวังอย่าให้โดนสิ่งสกปรก เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อ และอาจรุนแรงจนตาบอดได้