การฟอกไต คือ เมื่อไตมีการทำงานล้มเหลว หรือเป็นโรคไตเรื้อรัง โรคไตระยะสุดท้ายที่ไตมี
การกรองของเสียได้น้อย จึงจำเป็นจะต้องมีการฟอกไตโดยเครื่องฟอกไต ที่จะช่วยกรอง
ของเสียที่เป็นอันตราย เกลือ และน้ำส่วนเกินออกจากเลือด และนำเลือดที่ปกติหรือเลือดที่
ผ่านการกรองแล้ว กลับเข้าไปในร่างกาย
นอกจากนี้ การฟอกไตยังช่วยในการรักษาระดับที่ปลอดภัยของสารเคมีบางอย่างในเลือด เช่นโพแทสเซียม โซเดียม
และไบคาร์บอเนต ที่ช่วยในการควบคุมความดันโลหิต
เมื่อการทำงานของไตล้มเหลว สามารถทำให้เกิดปัญหาหลายประการ ได้แก่
– อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
– ความเมื่อยล้า รู้สึกเหนื่อย
– ปัญหาเกี่ยวกับกระดูก
– คันตามผิวหนัง
– มีปัญหาในการนอนหลับ
– สูญเสียน้ำหนัก
– โรคโลหิตจาง คือปัญหาในการที่จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดแดงในเลือดต่ำเกินไป
แต่ในโรคไตบางชนิด เช่น ไตวายเฉียบพลัน หลังได้รับการรักษาแล้วมีอาการดีขึ้น การฟอกไตจึงอาจมีความจำเป็น
เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ จนกว่าไตจะมีการทำงานที่ดีขึ้น แต่สำหรับโรคไตวายเรื้อรังนั้น หากยังไม่มีการเปลี่ยนไตใหม่
จะต้องทำการฟอกไตไปตลอดชีวิต
การฟอกไต มี 2 วิธี
1. การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) คือการฟอกเลือด และล้างไตด้วยเครื่องฟอก
ไตเทียม โดยในระหว่างการฟอกเลือดจะต้องเกี่ยวไว้ด้วยตะขอโยงไปยังเครื่องฟอกไต ซึ่งจะใช้เวลามากกว่าการ
ทำงานของไตปกติ ในการกรองแพทย์จะทำการสร้างทางเข้าโดยการเจาะเข้าที่หลอดเลือด เพื่อให้ร่างกายสามารถ
เชื่อมต่อกับเครื่องฟอกไต
การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. ผ่าตัดเล็กที่แขน หรือขาเพื่อเชื่อมต่หลอดเลือดกับเครื่องฟอกไต
2. เชื่อมต่อหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำใต้ผิวหนัง เพื่อที่จะทำให้เส้นเลือดมีขนาดใหญ่เรียกว่าช่องทะลุ
หรือแผลทะลุ แต่หากหลอดเลือดไม่เพียงพอสำหรับช่องทะลุ แพทย์อาจใช้หลอดพลาสติกอ่อนเข้าในหลอดเลือดแดง
และหลอดเลือดดำใต้ผิวหนัง แล้วเชื่อมต่อกับสายของเครื่องฟอกไตเทียม
3. บางครั้งการเข้าถึงเส้นเลือดจะทำโดยวิธีการใส่สายสวนแทรกเข้าไปในหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ที่ลำคอ การเข้าถึง
หลอดเลือดวิธีนี้ อาจใช้เพียงชั่วคราว หรือบางครั้งก็ใช้สำหรับการรักษาในระยะยาว
การฟอกไตวิธีนี้ จะใช้เวลาในการฟอกครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง ในหนึ่งสัปดาห์ต้องทำการการฟอกไต 3 ครั้ง
วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหัวใจ และหลอดเลือด และผู้ที่ไม่สะดวกในการเดินทางมาฟอกไตที่
โรงพยาบาลบ่อยๆ
2. การฟอกไตทางช่องท้อง เป็นการล้างไตทางช่องท้อง การทำความสะอาดเลือดโดยใช้เยื่อบุของบริเวณ
หน้าท้องเป็นตัวกรองของเสียออกจากเลือด วิธีนี้จะช่วยให้เลือดทำความสะอาจในขณะที่นอนหลับ หรือในขณะที่
ดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ก่อนจะมีการฟอกไต แพทย์จะทำการผ่าตัดเล็ก เพื่อสร้างการเข้าถึงบริเวณหน้าท้อง
ส่วนใหญ่มักจะผ่าตัดบริเวณด้านข้างของหน้าท้อง จากนั้นจะทำการใส่สายสวนเข้าไปในบริเวณรอบกระเพาะอาหาร
และอวัยวะใกล้เคียง เรียกว่า ช่องท้อง
การฟอกไตทางช่องท้อง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. ต่อถุงน้ำยาที่ใช้ในการฟอกไตเข้ากับเครื่อง เพิ่มทำการเติมน้ำยาเข้าสู่ช่องท้อง
2. เมื่อเติมน้ำยาเข้าไปแล้ว น้ำยาจะพักอยู่ในช่องท้องเพื่อทำการกรองของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากช่องท้อง
ช่วงพักน้ำยาอยู่ในช่องท้องอาจใช้เวลา 4-6 ชั่วโมง
3. การปล่อยของเสียง และน้ำส่วนเกินออกจากช่องท้อง ใช้เวลาครั้งละประมาณ 30 นาที
การฟอกไตด้วยวิธีนี้สามารถทำเองได้ที่บ้าน วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีผังพืดทางช่องท้อง และผู้ป่วยที่เคย
ผ่าตัด ถึงแม้วิธีนี้จะมีโอกาสในการติดเชื้อ แต่หากการดูแลอย่างถูกวิธีก็สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อได้