รู้จักไวรัสตับอักเสบ ซี

           บทความนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์จริงของแอดมินซึ่งมีคุณแม่เป็นไวรัสตับอักเสบ ซี  และได้เข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งเป็นเวลา  7 เดือน หากรวมการตรวจวินิจฉัยโรคและตัดสินใจรักษาก็ใช้เวลาประมาณ 16 เดือน ปัจจุบันได้หายขาดจากโรคไวรัสตับอักเสบ ซี และตรวจไม่พบเชื้อไวรัสมากว่า 4 ปีแล้ว มีวัตถุประสงค์ในการเขียนบทความนี้เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ ซี และผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยว่าหากได้ทำการรักษาตามขั้นตอน ปฏิบัติตัวอย่างถูกวิธี และมีจิตใจที่เข้มแข็ง  ก็จะสามารถเอาชนะไวรัสตับอักเสบ ซี  ได้อย่างแน่นอน

           ก่อนที่จะพูดถึงวิธีการรักษา เรามาทำความรู้จักกับไวรัสตับอักเสบ ซี กันก่อนนะคะ 

Credit photo : www.sciencedaily.com

Credit photo : www.sciencedaily.com

 

 ไวรัสตับอักเสบ ซี คืออะไร?

ไวรัสตับอักเสบ ซี คือ การที่เซลล์ของตับถูกทำลายหรืออักเสบเพราะตับทำงานผิดปกติจากเชื้อไวรัสตับเสบชนิด ซี โดยมีทั้งหมด 6 สายพันธ์ คือ สายพันธ์ที่ 1-6 ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันได้

สายพันธ์ที่ 1 จะรักษาหายยากสุด
สายพันธ์ที่ 2-3    มีโอกาสหาย 30 – 90%
สายพันธ์ที่ 4-6     ไม่ค่อยพบในประเทศไทย

 

สาเหตุที่ทำให้ตับอักเสบ แบ่งได้ 2 ข้อใหญ่ๆ คือ

  1. ปัจจัยจากภายนอก
  2. ตับทำงานหนักมากเกินไป

 

ปัจจัยภายนอกที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี

  1. มีประวัติได้รับเลือด พลาสม่า ซีรั่ม หรือเกล็ดเลือด โดยเฉพาะได้รับก่อนปีพ.ศ 2533 เนื่องจากยังไม่มีการตรวจหาไวรัสตับอักเสบ ซี ในช่วงเวลานั้น
  2. มีประวัติฉีดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  3. มีประวัติการฟอกไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
  4. มีการสัก เจาะตามร่างกาย ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง
  5. ใช้เข็มฉีดยาซ้ำ หรือการฉีดยาโดยหมอเถื่อนตามบ้าน
  6. ผู้ที่สำส่อนทางเพศมีคู่นอนหลายคน
  7. ติดต่อจากมารดาไปสู่ทารก แต่ก็มีโอกาสน้อยมาก ยกเว้นผู้ที่มีปริมาณเชื้อมาก หรือติดเชื้อ HIV
  8. ผู้ป่วยในไทยร้อยละ 30 ไม่เข้าข่ายปัจจัยเสี่ยงใดๆเลย และไม่ทราบสาเหตุของการติดเชื้อ ซึ่งอนุมานได้ว่าอาจมาจากการที่ตับนั้นทำงานหนักมากเกินไป

 

ตับ มีหน้าที่อะไรบ้าง

  1. ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เปรียบได้กับคอนดัคเตอร์ที่ควบคุมวงดนตรีทั้งวง
  2. มีหน้าที่เป็นโรงงานผลิต
    • ผลิตโปรตีนที่สำคัญ
  • ผลิตโปรตีนอัลบูมิน หรือไข่ขาว ที่ใช้ในการควบคุมสมดุลของของเหลวในร่างกาย หากอัลบูมินในเลือดลดลงต่ำกว่าปกติจะทำให้ไม่สามารถอุ้มน้ำ และเกลือแร่ไว้ในเกร็ดเลือดได้ เกิดภาวะบวมต่างๆ หรือมีการรั่วของน้ำเข้าไปในช่องอวัยวะ เช่นช่องท้อง ที่เรียกว่า “ท้องมาน”
  • ผลิตโปรตีนที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดเราสามารถหยุดไหลได้
    • ผลิตน้ำดี และขับออกทางท่อน้ำดีไหลลงสู่ลำไส้เล็ก เพื่อช่วยในการย่อยอาหารประเภทไขมัน หากตับทำงานผิดปกติ จะเกิดการอุดกั้นท่อน้ำดี ทำให้น้ำดีมีการคั่งและเกิดเป็นโรคดีซ่านได้
    • ทำหน้าที่ขับบิลลิรูบิน ที่เกิดจากการสลายของเป็ดเลือดแดงที่หมดอายุของร่างกาย
    • สร้างสารต่างๆมากมาย เช่นคลอเรสเตอรอล หรือสร้างน้ำตาลกลูโคสจากสารอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ในร่างกาย
  1. ทำหน้าที่เป็นโรงงานกำจัดของเสีย
    • ทำลายแอมโมเนีย กรดอะมิโน และโปรตีน ให้เป็นสารที่มีพิษน้อยกว่าคือ ยูเรีย ซึ่งขับออกทางไตได้
    • ทำลายสารพิษต่างๆ เช่นแอลกอฮอล์ ยาทั้งหลาย เพื่อให้หมดฤทธิ์และขับถ่ายออกจากร่างกายได้
    • ตรวจกรองสิ่งแปลกปลอมโดยเฉพาะเชื้อโรคซึ่งมาจากลำไส้ เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง
  2. ทำหน้าที่เป็นคลังสินค้า เก็บสะสมสารอาหารต่างไว้ใช้ในยามจำเป็น

 

         จะเห็นได้ว่าตับมีหน้าที่มากมายเหลือเกิน ในผุ้ป่วยหลายรายที่ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงก็คาดการณ์ได้ว่า มาจากการตับทำงานหนัก มีความเครียดสูง พักผ่อนน้อย ทำให้ตับทำงานหนักเกินไปจนเกิดภาวะอักเสบและติดเชื้อได้นั่นเอง ซึ่งในกรณีของผู้เขียนก็คาดว่าเกิดจากสาเหตุนี้เช่นกัน

 

 

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments