39 ข้อห้ามและข้อควรระวังก่อนไปนวดแผนไทย

image

 

การนวดแผนไทย (Thai Massage) มีประโยชน์หลายอย่าง ทั้งกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตเพื่อผ่อนคลายภาวะความเครียด ภาวะทางจิต บำบัดอาการปวด เจ็บ บวม ขัดยอก การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ถือว่าเป็นการรักษาอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ที่ไม่นิยมทานยาเพื่อรักษาอาการปวด

ในการนวดนั้นมีข้อห้าม และข้อควรระวังอยู่หลายข้อ ใครที่มีโรคประจำตัว หรือชอบการนวดแผนไทย ควรจะศึกษาให้ดีก่อนนะคะ เพราะหากพลาดพลั้งขึ้นมาอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาต ร้ายแรงที่สุดก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้

 

39 ข้อห้าม และข้อควรระวังก่อนนวดแผนไทย

1.  ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีภาวะควบคุมไม่ได้ (Unstable heart disease) ไม่ควรนวด เพราะอาจจะทำให้ช็อคได้

2.  ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ไม่ควรนวดเพราะจะทำให้เชื้อของมะเร็งเเพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ หากปวดเมื่อยมากจริงๆ ก็สามารถนวดได้เบาๆ แต่ต้องหลีกเลี่ยงตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง

3.  ผู้ที่มีปัญหามีลิ่มเลือดในหลอดเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานมาเป็นเวลานาน มีไขมัน ในเส้นเลือดสูง อาจจะมีผนังหลอดเลือดที่ขรุขระทำให้เกล็ดเลือดไปเกาะ และจับตัวกลายเป็นลิ่มเลือดได้ ซึ่งพบบ่อยบริเวณกล้ามเนื้อน่อง ทำให้มีอาการปวด และบวมแดง หากนวดแล้วลิ่มเลือดหลุด มักจะเข้าไปอุดเส้นเลือดที่ปอดและเป็นอันตรายต่อชีวิตกล้ามเนื้อช้ำเเละหายยาก

4.  ผู้มีภาวะลิ่มเลือดอักเสบและอุดตันด้วยลิ่มเลือด (Thrombophlebitis)

5.  ผู้มีความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้ (Uncontrollled hypertension) และความดันโลหิตสูง คือ systolic สูงกว่าหรือเท่ากับ 160 mmHg และ/หรือ diastolic 100 mmHg หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว ใจสั่น ร่วมด้วย ไม่ควรนวด 

6.  หากความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดแดงที่ท้องเป็นกระเปาะ ไม่ควรกดท้อง เพราะเสี่ยงต่อการทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ท้องปริจนมีอันตรายถึงเสียชีวิตได้

7.  ผู้เป็นโรคกระดูกพรุนรุนแรง หรือต้องกินยารักษาโรคกระดูกพรุนอยู่

8.  ผู้เป็นโรค Multiple myeloma ทำให้กระดูกมีความเปราะบางคล้ายโรคกระดูกพรุน

9.  ผู้มีเนื้องอกที่กระดูก หรือมีการติดเชื้อในกระดูก เพราะจะทำให้บริเวณนั้นกระดูกหักง่าย

10.  เป็นโรคทางระบบประสาทโดยเฉพาะไขสันหลังที่ยังมีอาการชัดเจน และแย่ลงเรื่อยๆ

11.  มีเนื้องอกที่ไขสันหลัง

12.  เส้นประสาทไขสันหลังถูกกดทับจากสาเหตุต่างๆ เช่น หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังหักยุบตัว เป็นต้น เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายซ้ำซ้อนหนักขึ้นไปได้

13.  ผู้เป็นโรคผิวหนัง เพราะจะทำให้เชื้อแพร่ออกไปบริเวณอื่น และแพร่มาสู่ผู้นวดด้วย

14.  มีภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง (Abdominal aneurism)

15.  โรคเลือดชนิดฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)

16.  ผู้ที่มีภาวะผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เพราะอาจทำให้เลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจ้ำ หรือเป็นก้อนเลือดในกล้ามเนื้อได้

17.  เป็นไข้พิษ ไข้กาฬ เช่น อีสุกอีใส งูสวัด

18.  ผู้สูงอายุที่ต้องการนวดแผนไทย ควรจะให้ผู้นวดลดระดับน้ำหนักมือลงมากพอสมควร เพราะผู้สูงอายุจะมีร่างกายที่เปราะบาง กระดูกบาง หากกดแรงๆก็ทำให้กระดูกหักได้เช่นกัน

19.  ผู้ที่ไม่เคยนวดแผนไทยมาก่อน หรือนวดครั้งแรกๆ กล้ามเนื้ออาจจะเกร็งไม่ผ่อนคลายขณะถูกนวด จึงมักเกิดอาการปวดยอกระบมกล้ามเนื้อ ซึ่งจะหายภายใน 2 – 3 วัน หลังจากนั้นจะกลับรู้สึกสบายหายปวดเมื่อย แต่ถ้าอาการยังมีมากควรจะปรึกษาแพทย์

20.  ไม่ควรนวดในขณะที่มีไข้เพราะกล้ามเนื้อจะยอกและระบมได้ง่าย

21.  มีอาการปวดมาก บวม แดงร้อนของข้อ ให้หลีกเลี่ยงจนกว่าอาการจะทุเลาก่อน

22.  หากจะนวดท้อง ควรรับประทานอาหารมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 นาที

23.  ไม่นวดอย่างรุนแรงหรือนานเกินไป โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่ค่อยมีกล้ามเนื้อ เช่น หน้าหู ใกล้กระดูกไหปลาร้า รักแร้ เพราะอาจเกิดการอักเสบ ฟกช้ำได้

24.  ผู้ที่มีภาวะข้อหลวมหรือเคลื่อน เช่น ผู้ป่วยไขข้อรูมาตอยด์ ผู้ที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อน ไหล่หลวม ควรหลีกเลี่ยงการดัด และบีบนวดบริเวณนั้น บริเวณใกล้เคียงสามารถนวดได้ แต่ต้องให้ความระมัดระวัง

25.  หากบาดเจ็บกระดูกหัก และกระดูกยังไม่ติดสนิท ไม่ควรนวดเพราะความแข็งแรงอาจจะยังไม่เพียงพอต่อแรงนวด

26.  อวัยวะเทียมบริเวณข้อต่อควรหลีกเลี่ยงการนวดที่รุนแรง

27.  ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก

28.  สตรีตั้งครรภ์ไม่ควรนวดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนแรก เพราะเด็กในครรภ์ยังอยู่ในภาวะที่อ่อนแอ แต่หากมีอาการปวดหลังในช่วงที่เลย 3 เดือนแรก ก็สามารถนวดได้ แต่ด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรนวดบริเวณหน้าท้อง ควรนอนตะแครงนวดห้ามนอนคว่ำ

29.  ควรจะได้รับการนวดอย่างเบามือบริเวณศรีษะ กระหม่อม ทัดดอกไม้ (temporal bone) และใบหน้าเพราะมีหลอดเลือดและเส้นประสาทอยู่มาก ไม่ควรดัดหรือดึงที่คอ เพราะอาจทำให้กระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท จนกลายเป็นอัมพาตได้

30.  ไม่ควรดัดหลังอย่างรุนแรง อาจทำให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ ซึ่งหากมีเส้นประสาทอยู่ใกล้จะได้รับอันตรายไปด้วย
ไม่นวดบริเวณต่อมไทรอยด์ และไหปลาร้า

31.  บริเวณแขน ไหล่ ที่สามารถขยับได้มาก ไม่ควรให้นวดแรง เพราะอาจทำให้หัวไหล่หลุดได้

32.  บริเวณรักแร้จะมีต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือด เส้นประสาทมาก หากมีอาการเสียวแปล๊บลงแขน ต้องหยุดทันที

33.  การเปิดปิดประตูลมไม่ควรกดนานกว่า 45 วินาที และอย่าใช้แรงกดมากเกินไป เพราะอาจทำให้หลอดเลือดช้ำอักเสบ รวมทั้งเกิดอาการชาได้ เนื่องจากเส้นประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงนานเกินไป

34.  ไม่ควรนวดในขณะที่มีไข้ เพราะกล้ามเนื้อจะยอกและระบมได้ง่าย

35.  มีอาการปวดมาก บวม แดงร้อนของข้อ ให้หลีกเลี่ยงจนกว่าอาการจะทุเลาก่อน เพราะมันอักเสบอยู่เเล้ว ถ้านวดจะทำให้อักเสบมากขึ้น

36.  สตรีที่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ไม่ควรนวดเพราะจะทำให้เลือดลมผิดปกติ หรือเกิดการอักเสบบริเวณท้องได้

37.  บริเวณที่มีบาดแผลเปิด หรือบริเวณที่แผลเริ่มที่จะผิด

38.  หากทานยาเเก้ปวดมาก่อนทำการนวด จะทำให้กล้ามเนื้อชา นวดเเล้วไม่เห็นผล

39.  หากนวดเพื่อรักษาอาการปวดก็ไม่ควรที่จะนวดทุกวัน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักบ้าง อาจจะนวดวันเว้นวัน และเมื่ออาการทุเลาลงก็ค่อยๆทิ้งช่วงห่างขึ้น จนอาการหายก็หยุดนวด

 

หากเรารู้แล้วว่าเราอยู่ในกลุ่มที่ห้ามไปนวดแผนไทยหรือเปล่า และมีอะไรที่ควรจะระมัดระวังบ้าง คราวนี้เราก็สามารถไปนวดได้อย่างสบายใจแล้วนะคะ ^^

 

More from my site

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments