โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักมากจากการดำรงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน และการออกกำลังที่น้อยลง กลุ่มที่พบว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานมากที่สุดคือกลุ่มช่วงวัยทำงานขึ้นไปโดยเฉพาะวัยสูงอายุ
โรคเบาหวาน คือภาวะที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ หรืออินซูลินที่สร้างขึ้นมานั้นไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ทำให้มีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมากเกินไปโดยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น
โรคเบาหวานมีทั้งหมด 4 ชนิด โดยชนิดที่พบบ่อยคือเบาหวานชนิดที่สอง
เบาหวานชนิดที่1(Type 1 Diabetes) มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี และเด็กที่มีรูปร่างอ้วน เนื่องจากอินซูลินในร่างกายมีน้อยและไม่สามารถใช้อินซูลินได้ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
เบาหวานชนิดที่ 2(Type 2 Diabetes) เป็นเบาหวานที่ผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นตั้งแต่ 30 ขึ้นไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินได้น้อยลงและมีการดื้อต่ออินซูลิน
เบาหวานที่เกิดจากสาเหตุเฉพาะ ได้แก่ โรคของตับอ่อน พันธุกรรมมีความผิดปกติ ได้รับสารเคมีหรือยาบางชนิด เช่น กลุ่มสเตียร์รอยด์
เบาหวานที่เกิดขณะตั้งครรภ์ เพราะฮอร์โมนที่อยู่ในรกนั้นทำให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง และไม่สามารถสร้างอินซูลินได้มากพอกับความต้องการ จึงทำให้เป็นเบาหวานนั่นเอง
อาการของโรคเบาหวาน ในระยะต้นจะไม่แสดงอาการแต่เมื่อระดับน้ำตาลที่มากขึ้นเรื่อยๆ จะมีอาการดังต่อไปนี้
– ปัสสาวะบ่อย กลางคืนปัสสาวะหลายครั้ง
– หิวน้ำบ่อย
– คันตามตัว
– เป็นลม เนื่องจากมีน้ำตาลสูงหรือระดับน้ำตาลต่ำ
– อ่อนเพลีย
– หิวบ่อย รับประทานอาหารบ่อยขึ้นแต่น้ำหนักลดลง
– ภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นเบาหวาน คือ ชามือ ชาเท้า ตามัว
– มีการติดเชื้อ เช่น เป็นแผลเน่าที่เท้า หรือติดเชื้อราในเพศหญิง
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจน้ำตาลในเลือด
โรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
– จอประสาทตาเสื่อม ตามัว ทำให้มีโอกาสเป็นโรคต้อกระจก ได้มากขึ้น
– ไตเสื่อม และ ไตวาย เนื่องจากหากเบาหวานลงมาที่ไตจะทำให้เส้นเลือกมีการอักเสบและหนาตัวขึ้นทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงไตได้
– โรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวาย
– เป็นอัมพฤกษ์อัมพาฒ เนื่องจากเบาหวานทำให้เส้นเลือดที่สมองแข็งตัวหรือทำให้เส้นเลือดในสมอง
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
– เป็นผู้สูงอายุ
– เป็นผู้ทีมี่รูปร่างอ้วน และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันและแป้งในปริมาณมากๆ ไม่ออกกำลังกาย
– ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
– คนในครอบครัวมีประวัติของโรคเบาหวานทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานมากกว่าคนทั่วไป
– มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ทำให้อ้วนลงพุงมีไขมันที่บริเวณพุงมากเกินไปหรือที่เรียกว่าไขมันสีน้ำตาล
– มีไขมัน LDL สูง
– มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ