สัญญาณมะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่

 

ประมาณ 20% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ (ovarian cancer) จะสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก และผู้ป่วยที่ถูกตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกมีมากถึง 94% ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้มากกว่า 5 ปี หลังจากการตรวจพบมะเร็ง ดังนั้นคงเป็นการดีหากเราได้เรียนรู้วิธีการตรวจหามะเร็งรังไข่เอาไว้

 

  1. หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี

ในการตรวจ จะมีการตรวจเกี่ยวกับช่วงกระดูกเชิงกราน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะรู้ได้ถึงขนาด และรูปร่างของรังไข่และมดลูก ที่อาจผิดปกติ

ไป ซึ่งนั่นจะเป็นจุดสังเกตของมะเร็งในส่วนต่างๆของระบบสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งรังไข่ เป็นต้น

 

  1. ทำ Screening test สำหรับ มะเร็งรังไข่

Screening test เป็นแบบทดสอบที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคได้ ซึ่งประกอบไปด้วย 2 แบบทดสอบหลักๆ ในการใช้วินิจฉัยโรคมะเร็ง

รังไข่ ได้แก่ Transvaginal ultrasound (TVUS) และ CA-125 blood test.

TVUS คือ แบบทดสอบที่ใช้คลื่นเสียงพบตรวจสอบมดลูกและรังไข่ ด้วยการสอดเครื่อง ultrasound เข้าไปภายในช่องคลอด

CA-125 คือ โปรตีนในกระแสเลือด ซึ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่นั้น ระดับ CA-125 ในกระแสเลือดจะสูงมาก ซึ่งเป็นเครื่องหมาย

ของเนื้องอก (Tumor marker) ที่แพทย์จะใช้ในการวินิจฉัยได้

 

  1. ไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ

โรคมะเร็งรังไข่สามารถสังเกตได้จากหลายสัญญาณและอาการ หากมะเร็งได้ลุกลามไปยังส่วนต่างๆในร่างกายนอกจากรังไข่

 

อาการในระยะเริ่มแรกที่พบบ่อยๆ

1.  ท้องอืด

2.  อาการปวดกระดูกเชิงกรานหรือช่องท้อง

3.  ประสบปัญหาการรับประทานอาหารแล้วอิ่มรวดเร็วผิดปกติ

4.  อาการปัสสาวะบ่อย เช่น รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา หรือปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

อาการเหล่านี้ยังใช้ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งในตำแหน่งอื่นๆ และโรคอื่นๆ (ที่ไม่ใช่มะเร็ง) ซึ่งมีสาเหตุแรกเริ่มมาจากโรคมะเร็ง

รังไข่ได้ด้วย ดังนั้นหากคุณมีอาการเหล่านี้มากกว่า 12 ครั้งต่อเดือน คุณควรไปพบแพทย์ และปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

 

อาการอื่นๆ ของโรคมะเร็งรังไข่ที่ควรเฝ้าสังเกต

1.  มีอาการเมื่อยล้าบ่อย

2.  ปวดท้องบ่อย

3. มีอาการปวดหลัง

4.  รู้สึกเจ็บในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

5.  มีอาการท้องผูก

6.  ประจำเดือนมาไม่ปกติ

7.  มีอาการท้องบวมแต่น้ำหนักลด

อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวอาจเกิดได้ด้วยโรคมะเร็งรังไข่ หรือเกิดจากสาเหตุอื่นเช่นกัน เพียงแต่ว่าใน

ผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่จะพบอาการดังกล่าวได้บ่อย อย่างไรก็ตามเราก็ควรจะเฝ้าสังเกตุตนเองอยู่เสมอนะคะ

 

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments