มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer) ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณช่องท้องส่วนบน ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลินเพื่อดักจับน้ำตาล และสร้างน้ำย่อย เมื่อเซลล์ของตับอ่อนมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติจนร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ จึงทำให้เกิดโรคมะเร็งตับอ่อนนั่นเอง
การวินิจฉัย มะเร็งตับอ่อนถือว่าเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงพอสมควร การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเติบโตเร็ว
เพราะไม่มีอาการเฉพาะเจาะจงของมะเร็งตับอ่อน อีกทั้งตับอ่อนยังเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกในช่องท้อง ทำให้ตรวจพบ
ได้ยาก และวินิจฉัยได้ไม่แม่นยำนัก
สาเหตุของมะเร็งตับอ่อน นั้นยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนซึ่ง
ปัจจัยเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับอ่อนมีดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งตับอ่อน
1. พันธุกรรม สำหรับบุคคลที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับอ่อน จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับอ่อนมากกว่าคน
ปกติ 2 เท่า
2. การสูบบุหรี่
3. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือมีอาการพิษสุราเรื้อรัง
4. เกิดจากตับอ่อนอักเสบเรื้อรังไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม โดยเฉพาะตับอ่อนอักเสบที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
5. อ้วน และไม่ออกกำลังกาย
6. เป็นโรคเบาหวาน
7. เป็นโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง
อาการ หรือข้อบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน
1. อาการปวดท้องทะลุไปด้านหลัง
2. ตัวเหลือง ตาเหลือง
3. เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง
4. มีก้อนเนื้อที่อยู่ระหว่างใต้ลิ้นปี่ และสะดือ
5. ฮอร์โมนผิดปกติ หรือมีน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ
6. ในผู้สูงอายุที่เพิ่งจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน ควรจะเข้ารับการตรวจตับอ่อนด้วย เนื่องจากมะเร็งตับอ่อนอาจจะแสดง
อาการเริ่มต้นด้วยการเกิดโรคเบาหวาน
การรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ
1. กลุ่มที่สามารถผ่าตัดได้ คือกลุ่มผู้ป่วยเนื้อร้ายยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะรอบๆ แพทย์จะทำการรักษา
โดยการผ่าตัด โดยคนไข้มะเร็งตับกลุ่มนี้จะพบเพียง 20 % ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนเท่านั้น
2. กลุ่มที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ คือกลุ่มผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งนั้นลุกลาม และแพร่กระจายไปยังอวัยวะสำคัญที่
อยู่รอบๆ เช่น เส้นเลือดดำ ตับ ปอด กระเพาะ เป็นต้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับการรักษาโดยยาเคมีบำบัดที่ช่วยชะลอ
การกระจายของโรค
มะเร็งตับอ่อนมักจะตรวจพบได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือมีการแพร่กระจายของมะเร็งไปทั่วร่างแล้ว
ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนส่วนใหญ่ มีโอกาสเสียชีวิตค่อนข้างสูง ดังนั้นการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกาย
อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มี
แอลกอฮอล์ หันมารับประทานอาหารที่ประโยชน์มากขึ้น ไม่เพียงแต่จะห่างไกลจากโรคมะเร็งตับอ่อนแล้วยัง
ปลอดภัยกับโรคร้ายอื่นๆอีกด้วย