มะเร็งลำไส้ใหญ่ (colon cancer) มักพบได้ในวัยผู้สูงอายุ ดังนั้นเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งหรือตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อป้องกัน และเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดหากตรวจพบในระยะเริ่มต้น
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ การมีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งเสมอไป หรือบุคคลที่ไม่มี
ปัจจัยเสี่ยงก็สามารถเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน
– ครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด Familial adenomatous polyposis (FAP) และ hereditary nonpolyposis
colon cancer (HNPCC; Lynch Syndrome) ซึ่งเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดหนึ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
– มีประวัติของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก รังไข่ มดลูก หรือเต้านม
– เคยเป็นแผลในเยื่อบุลำไส้ใหญ่ หรือโรคโครห์น(Crohn) เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกตำแหน่ง
ของระบบทางเดินอาหาร
– มักพบในผู้สูงอายุวัย 50 ขึ้นไป
– มีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ หรือทวารหนัก
การแพร่กระจายของมะเร็งสามารถแพร่ได้ 3 ทาง ดังนี้
1. เนื้อเยื่อ มะเร็งจะเริ่มกระจายเริ่มจากบริเวณที่อยู่ใกล้ที่สุดนั่นก็คือเนื้อเยื่อ
2. ระบบน้ำเหลือง เมื่อมะเร็งลำไส้แพร่เข้าสู่ระบบน้ำเหลืองจะเดินทางผ่านหลอดน้ำเหลืองไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
3. เลือด เมื่อมะเร็งเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจะเดินทางผ่านหลอดเลือดไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
อาการ หรือสัญญานมะเร็งลำไส้ใหญ่
– มีอุจจาระปนเลือดสีแดงสด หรือสีแดงเข้มมาก หรือมีเลือดออกทางทวารหนัก
– ท้องเสีย หรือท้องผูก หรือพฤติกรรมของลำไส้เปลี่ยนไป
– ท้องอืด แน่นท้อง รู้สึกไม่สบายท้อง เช่น รู้สึกเหมือนมีแก๊สในท้อง หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในท้อง
– น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
– มีอาการอ่อนเพลีย อาเจียน
โดยผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้ประมาณ 4-6 สัปดาห์
หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากอาจปิดกั้นลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดอาการดังนี้
– ท้องอืด หรือท้องใหญ่ขึ้นโดยไม่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มากกว่าปกติ
– อาการปวดท้องที่เกิดจากการฉีกขาดของลำไส้ การรั่วไหล่ของลำไส้เข้าไปในกระดูกเชิงกรานทำให้เกิดการอักเสบของ
เยื่อกระเพาะแลกการติดเชื้อ
– อุจจาระมีลักษณะแบน หรืออุจจาระคล้ายริบบิ้น
– รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในท้อง แน่นท้อง
– อาการคลื่นไส้อาเจียน
การป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
– การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป วิธีนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดใน
การป้องกันหรือตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีประวัติเคยเป็นลำไส้อักเสบควรมีการเข้ารับการตรวจคัดกรองบ่อยกว่าคนทั่วไป
– การออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักใบเขียวเช่น คะน้าและบรอคโคลี่จะ
ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่รวมถึงการรับประทานเมล็ดธัญพืชให้มากขึ้น และลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและการบริโภคเนื้อแดง
– ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกสูบบุหรี่
– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม หรืออาหารที่รมควันบ่อยๆ เพราะมีสารก่อมะเร็ง
– ลดปริมาณการรับประทานเนื้อแดงให้น้อยลง
– รักษาน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป
การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น
– ซักประวัติสุขภาพ
– ตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบภาวะโลหิตจาง
– ตรวจอุจจาระตรวจทวารหนัก โดยการใช้มือคลำหาก้อนบวมที่อยู่บริเวณทวารหนัก
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งจะอยู่ที่บริเวณผนังด้านในของลำไส้ใหญ่ หรือทวารหนักเท่านั้น
ระยะที่ 2 มะเร็งที่อยู่ในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่หรือทวารหนักจะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง
ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
ระยะที่ 4 มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่ายกายผ่านระบบเลือดและน้ำเหลือง เช่น ปอด ตับ เป็นต้น
การรักษา
– ทำการผ่าตัด
– การฉายรังสี
– ทำเคมีบำบัด
– การให้ยารักษาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง