ไอเรื้อรังควรระวังวัณโรคปอด

วัณโรคปอด Tuberculosis,tubercle bacillus

 

 90% ของโรควัณโรคที่พบจะเป็นวัณโรคปอด โดยวัณโรค (Tuberculosis) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในอากาศ และเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจในอากาศจากละอองการไอ จาม จากผู้ป่วย  การติดต่อส่วนใหญ่จะติดต่อจากคนสู่คน ทำให้ส่งผลต่อการติดเชื้อที่ปอด เนื่องจากแบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอ๊อกซิเจน และเลือดจำนวนมาก  นอกจากนี้เชื้อวัณโรคยังสามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย เรียกว่า วัณโรคนอกปอด

 

วัณโรคปอด คืออะไร?

วัณโรคปอด (Tuberculosis,tubercle bacillus ) คือ โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ Mycobacterium tuberculosis เข้าโจมตี

ปอด เป็นโรคร้ายแรงกว่าชนิดอื่นๆถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่สามารถรักษาได้ หากได้รับการรักษาที่รวดเร็ว และปฏิบัติตามคำแนะนำของ

แพทย์อย่างเคร่งครัด

 

การรักษา

วัณโรคเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ แต่กระบวนการรักษานั้นต้องใช้เวลานาน ประมาณ 6-9 เดือน แต่บางกรณีที่ติดเชื้อวัณโรครุนแรงอาจต้องใช้เวลานานถึง 2 ปีในการรักษา

 

ปัจจัยเสี่ยงของวัณโรคปอด

– ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก เนื่องมีภูมิต้านทานร่างกายที่ต่ำ

– อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค

– ผู้สูบบุหรี่

– ผู้ที่มีปัญหาหรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์

– ผู้ที่ขาดการตรวจสุขภาพ หรือไม่พบหมอเป็นประจำ เช่น คนจรจัด

– ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด อากาศไม่ถ่ายเท หรือสภาพแวดล้อมที่มีผู้คนจำนวนมาก เช่น เรือนจำ

– ผู้ที่ใช้บางชนิดที่มีฤทธิ์กดภูมิต้านทาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาเคมีบำบัดเบาหวาน

– อยู่รอบ ๆ คนที่มีเชื้อวัณโรค (เช่นระหว่างการเดินทางในต่างประเทศ)

 

อาการของวัณโรคปอด

ผู้ที่ได้รับเชื้อวัณโรคส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการ เรียกว่าวัณโรคแฝง มักจะแสดงอาการเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง โดย

– มีอาการไอเรื้อรังเป็นสัปดาห์ หรือนานเป็นเดือน

– ไอเป็นเลือด หรือมีเลือดปนเสมหะ

– มีไข้ต่ำ เหงื่อออกมากเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน

– อาการเจ็บหน้าอก

– น้ำหนักลด เบื่ออาหาร

– รู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อยล้า

 

การป้องกันวัณโรคปอด

การป้องกันเชื้อวัณโรคเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยากโดยเฉพาะกับผู้ที่ทำงานในโรงพยาบาล สำนักงานแพทย์ เรือนจำ เป็นต้น ดังนั้นอาจสามารถป้องกันเชื้อวัณโรคในสถานที่เหล่านี้ได้โดย

– หลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องปิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอด ออกมาสูดอากาศนอกห้องพักผู้ป่วยสม่ำเสมอ

– สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง แม้จะไม่ได้อยู่ในห้องผู้ป่วยวัณโรคก็ตาม

– บุคคลทั่วไปควรหลีกเลี่ยงชุมชนแออัด สถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน

– หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง

– เข้ารับการตรวจวัณโรคทันที หากสงสัยว่าได้รับเชื้อวัณโรค

 

วัณโรคปอดนอกจากจะสร้างความเสียหายในปอดระยะยาวแล้ว หากวัณโรคปอดแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ

เช่น ตับ สมอง หัวใจ อาจสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะเหล่านี้อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

More from my site

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments