เครื่องช่วยฟัง คือเครื่องขยายเสียงขนาดเล็กสำหรับผู้บกพร่อง หรือมีปัญหาทางการได้ยิน
หรือผู้สูงอายุ ที่มีการเสื่อมสภาพของประสาทหูทำให้การได้ยินน้อยลงตามไปด้วย
ส่วนประกอบและการทำงานของเครื่องช่วยฟัง
– ไมโครโฟนขนาดเล็ก ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
– เครื่องขยายเสียง(ภาคขยาย) จะรับสัญญาณไฟฟ้าจากไมโครโฟน เพื่อขยายสัญญาณไฟฟ้าที่เปลี่ยนมาจาก
สัญญาณเสียงให้ตรงกับระดับการได้ยินของผู้ใช้งาน
– ลำโพงขนาดเล็กจะทำหน้าที่แปลงสัญญานไฟฟ้ามาเป็นเสียง และทำการส่งสัญญาณเสียงนั้นเข้าไปในหู
ของผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟัง
ประโยชน์ของเครื่องช่วยฟัง
– ช่วยทำให้ผู้ที่มีปัญหาความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถรับฟังเสียงได้ ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
– ช่วยให้ผู้สุงอายุที่มีความเสื่อมของประสาทหู ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาได้ยินนั้น สามารถรับฟังเสียงได้ดีเหมือนเดิม
ชนิดของเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุ
– เครื่องช่วยฟังแบบพ็อคเก็ต จะเป็นตัวเครื่องสำหรับพกพาขนาดเล็กมีสายหูฟัง 1 ข้าง และใช้ถ่าน 1 ก้อน
เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินระดับปานกลางถึงมาก ควรเลือกรุ่นที่สามารถปรับระดับเสียงได้ แต่ไม่ควร
ปรับเสียงในระดับที่ดังมากเป็นเวลานานๆ หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ในบริเวณที่มีเสียงดังมากๆ และควรหมั่นดูแลรักษา
ความสะอาดอยู่เสมอ
ข้อดี
– ปุ่มขยายเสียงมีขนาดใหญ่กดได้ง่าย
– มีกำลังการขยายเสียงสูง
– ใช้ถ่านที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป
– ราคาถูก ดูแลง่าย
ข้อเสีย
– การป้องกันเสียงรบกวนน้อย
– มีสายรุงรัง ดูไม่เป็นธรรมชาติ และตัวเครื่องสามารถมองเห็นได้ง่าย
– เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู เป็นเครื่องช่วยฟังที่มีขนาด และรูปร่างเล็ก โดยมีลักษณะโค้งเว้าเหมือนกับใบหู
ข้อดี
– มีขนาดเล็กกะทัดรัด
– คุณภาพเสียงดี
– ราคาไม่สูงมาก
ข้อเสีย
– ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่สวมแว่นตา เพราะจะทำให้รู้สึเกะกะ เนื่องจากต้องคล้องไว้ที่ใบหู
– ใช้ถ่านเปลือง ถ่าน 1 ก้อนใช้ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ และต้องใช่ถ่านสำหรับเครื่องช่วยฟังเท่านั้น
– เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู มี 3 ขนาดคือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
ข้อดี
– มีความเป็นธรรมชาติมากกว่าเครื่องช่วยฟังแบบอื่นๆ
– คุณภาพเสียงดี
– รับเสียงจากลมที่เข้าไปได้น้อยลง
ข้อเสีย
– อายุการใช้งานของถ่านสั้นกว่าแบบอื่นๆ ถ่าน 1 ก้อน ใช้ได้เพียงแค่ 5-10 วัน เท่านั้น
– ต้องใช้ถ่านสำหรับเครื่องช่วยฟังเท่านั้น
– ราคาสูง แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยินบกพร่องอย่างรุนแรง
– เสี่ยงต่อการเกิดขี้หูอุดตัน
การเลือกเครื่องช่วยฟัง
– ควรเลือกเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุที่มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก
– มีการขยายเสียงได้ดี ทนทาน ใช้งานง่าย
– ป้องกันเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือมีเสียงรบกวนให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เสียงที่ได้ยินนั้น
ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง เนื่องจากมีการรบกวนของเสียงภายนอก
การใส่เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
แต่สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินบางรายนั้น อาจไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
เนื่องจากสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการวินิฉัยของแพทย์ว่าสามารถรักษา
ให้หายขาดได้หรือไม่เนื่องจากการได้ยินที่เหลืออยู่หรือปัญหาการได้ยินของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน