ไซอาติกา ( Sciatica) เป็นอาการปวดสะโพก ร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง อาการปวดขาอาจลามไปจนถึงเท้า และอาจมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย อาจเป็นสัญญานของอาการปวดสะโพกที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับที่บริเวณสะโพก หรือเอวมักพบในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง
อาการปวดสะโพกจะแตกต่างจากรูปแบบอื่นๆของอาการปวดหลัง เพราะส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดเริ่มขึ้นที่
ด้านหลังสะโพก และร้าวลงไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง จะรู้สึกเสียวแปล๊บ ร้อนๆบริเวณที่ปวด อาจปวดตั้งแต่
เล็กน้อย ไปจนถึงปวดขั้นรุนแรง บางรายอาจมีอาการขาชาร่วมด้วย
สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดสะโพกร้าวลงขา
1. หมอนรองกระดูกเคลื่อน และหมอนรองกระดูกแตกทับเส้นประสาท เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวด
สะโพกร้าวลงขา ซึ่งมีอาการปวดที่รุนแรงมาก
2. กระดูกสันหลังที่มีเส้นประสาทไขสันหลังตีบ หรือแคบลง พบมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากในขณะที่เรามีอายุเพิ่ม
มากขึ้น กระดูกจะมีการเสื่อมสภาพตามวัย ทำให้กระดูกตีบ และแคบ สร้างแรงกดดันต่อเส้นประสาท
เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา โดยเฉพาะเมื่อนั่งนานๆ นั่งหลังค่อมหลังงอ จะทำให้แรงกด
ต่อเส้นประสาทเพิ่มขึ้นมา
3. กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) กระดูกสันหลังชิ้นใดชิ้นหนึ่งมีการเคลื่อนไปข้างหน้า หรือข้างหลัง
มากกว่ากระดูกสันหลังชิ้นอื่นๆ ทำให้เกิดความดันในเส้นประสาท
4. เส้นประสาทมีการยึด หรือรั้ง
5. กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis syndrome) หรือ กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเรื้อรัง
ทำให้เส้นประสาทติดอยู่ลึงลงไปในสะโพก ทำให้เกิดอาการปวด
6. สาเหตุอื่นๆ เช่น ข้อเข่าเสื่อม กระดูกหักที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน มักพบในผู้สูงอายุ
7. มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาในระหว่างตั้งครรภ์
8. ส่วนสาเหตุที่ทำให้ปวดสะโพกร้าวลงขาที่พบไม่บ่อยนัก เช่น เนื้องอก ลิ่มเลือด หรือฝีไปกดทับเส้นประสาท
9. อายุที่มากขึ้น ทำให้กระดูกสันหลังมีความเสื่อมถอยของความแข็งแรงลง เช่น กระดูกพรุน
10. โรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น โรคข้ออักเสบ หมอนรองกระดูกเสื่อม เป็นต้น
11. โรคอ้วน เพราะน้ำหนักที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพุงจะเพิ่มความเครียดให้กระดูกสันหลังมากขึ้น
12. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานเป็นประจำ โดยเฉพาะการนั่งหลังงอ เป็นปัจจัยเสี่ยง
ต่อการเกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาและปัญหาอื่นๆ ตามมา
อาการปวดสะโพกร้าวลงขาที่ควรเข้าพบแพทย์
– อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังจากเริ่มมีอาการผ่านไปหลายวัน และมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น
– มีอายุน้อยกว่า 20 ปี และมากกว่า 55 ปี ที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาเป็นครั้งแรก
– ผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือมีประวัติการเป็นมะเร็ง
– ผู้ที่มีการยกของหนักเมื่อก่อนมีอาการไม่นาน หรือมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาร่วมกับอาการหนาวสั่น และมีไข้
– ผู้ป่วยHIV
– ประสบอุบัติเหตุรุนแรง และเกิดอาการปวดอย่างเฉียบพลัน เช่น ตกบันได
– สูญเสียการควบคุมของลำไส้ หรือกระเพาะปัสสาวะ หรือมีอาการชาในอวัยวะเพศทั้งหญิงและชาย
ขอบคุณข้อมูลจาก