โรคเส้นเลือดในสมองตีบ รู้เร็วป้องกันอัมพาตได้

 

โรคเส้นเลือดในสมองตีบ

เส้นเลือดในสมองตีบ คือหนึ่งในโรคหลอดเลือดสมองที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ เป็นโรคแฝง
ที่มักจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะเริ่มต้น ส่วนใหญ่มักพบในช่วงอายุ 40 ปี  และวัยผู้สูงอายุ
และจากรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบันทำให้อุบัติการณ์ของการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองตีบ
นั้นมีผู้ป่วยรายใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นทุกๆปี

อ้างอิงจาก: www.bangkokhospital.com

 

ผลกระทบจากเส้นเลือดในสมองตีบ

เส้นเลือดในสมองนั้นมีเส้นเลือดฝอยเล็กๆ มากมายที่กระจายไปเลี้ยงสมอง โดยจะทำการแลกเปลี่ยนอ็อกซิเจน

และกลูโคส  หากเส้นเลือดในสมองตีบ อุดตัน หรือเส้นเลือดในสมองแตก จะทำให้สมองในบริเวณนั้นเกิดภาวะ

สมองขาดเลือด ซึ่งจะส่งผลทำให้สมองสูญเสียการทำงาน และอาจจส่งผลกระทบดังต่อไปนี้

– หากได้รับการรักษา 1 ใน 4 ของผู้ป่วยอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

– ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้พิการถาวร และส่วนใหญ่มักจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

– ผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดในสมองตีบทางด้านซ้ายที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต ของร่างกายทางด้านขวา มีปัญหาในการพูด

มีแนวโน้มของภาวะซึมเศร้าสูง ทำให้หมดกำลังใจในการฟื้นตัว

 

สาเหตุของเส้นเลือดในสมองตีบ

– เกิดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ ที่ผนังหลอดเลือดมีความหนามากขึ้น

– เกิดจากการอุดตันของชั้นไขมันเข้าไปแทรก หรือมีไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง

ทำให้การไหลเวียนของเลือดแรงขึ้น ซึ่งบางครั้งกระแสเลือดอาจพัดพาไขมันที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดไปอุดตัน

ที่เส้นเลือดส่วนปลาย

 

ปัจจัยเสี่ยงโรคเส้นเลือดในสมองตีบ

โรคความดันโลหิตสูง

โรคเบาหวาน

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

– การสูบบุหรี่

– มีไขมันในเลือดสูง

– พฤติกรรมการรับประทานอาหารรสหวานจัด และไขมันสูง

 

การผ่าตัดรักษาโรคเส้นเลือดในสมองตีบมี 2 วิธี คือ

1. การใส่บอลลูนเพื่อถ่างขยายหลอดเลือด และป้องกันไม่ให้หลอดเลือดกลับมาตีบซ้ำ

2. การผ่าตัดเพื่อลอกชั้นไขมันที่เกาะตัวหนาอยู่ที่ผนังหลอดเลือดออกมา

 

นอกจาการรักษาโดยการผ่าตัดแล้วจะต้องมีการรักษาร่วมกับวิธีอื่นด้วยได้แก่

1. การให้ยาต้านเกล็ดเลือด

2. การรักษาโรคประจำตัวพื้นฐานที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ

3. การทำกายภาพบำบัด เพื่อเป็นการฟื้นฟูเนื้อสมองที่เกิดความเสียหายรวมถึงการทำงานของระบบประสาท

และยังเป็นการสภาพร่างกายในกรณีที่เป็นอัมพาต

 

การป้องกันเส้นเลือดในสมองตีบ

เนื่องจากโรคเส้นเลือดในสมองตีบนั้นมักจะไม่แสดงอาการหรือส่งสัญญาณ ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการตรวจ

สุขภาพประจำปี เพื่อตรวจหาโรคที่มีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบมากน้อยเพียงใด และปฏิบัติ

ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อป้องกัน และหลีกเลี่ยงโรคเส้นเลือดในสมองตีบ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่

ผู้สูงอายุ คนอ้วน โดยเฉพาะภาวะอ้วนลงพุง ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอด

เลือดหัวใจ  เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น 

นอกจากนี้การป้องกันโรคหลอดเลือดในสมองตีบยังรวมถึงการปฏิบัติดังต่อไปนี้

– การปรับอารมณ์ให้อารมณ์ดีอยู่เสมอ ไม่เครียดจนเกินไป

– เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ไขมันต่ำ โดยเฉพาะไขมันสัตว์ที่ควรหลีกเลี่ยง

– การออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ

– การดูแลรักษา และควบคุมโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ให้อยู่ในภาวะ

ปกติ ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบได้เป็นอย่างมาก

 

อาการโรคเส้นเลือดในสมองตีบ

– มีอาการปวดหัว มึนหัว

– มุมปากเบี้ยวด้านในด้านหนึ่ง (สมองจะควบคุมการทำงานของฝั่งตรงข้าม เช่น เส้นเลือดในสมองตีบด้านซ้ายจะส่งผล

กระทบต่อร่างกายฝั่งขวา)

– มีปัญหาในการพูด เช่น พูดไม่ชัด พูดลำบาก พูดช้า พูดไม่ออก

– มีภาวะสมองเสื่อม

– ตาพร่ามัวร่วมกับอาการเดินเซ

– ตามองไม่เห็นชั่วขณะ

– อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมีอาการอ่อนแรง

– อาการชาครึ่งซีก

– ฟังไม่รู้เรื่อง

– หากเส้นเลือดในสมองตีบทางด้านซ้าย จะทำให้มีปัญหาในการพูด หรือพูดไม่ได้เลย เนื่องจากสมองด้านซ้ายจะมี

ศูนย์การพูดซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะของสมอง ทำหน้าที่ควบคุมการพูดอยู่ทางด้านซ้ายของสมองเหนือขมับขึ้นมาเล็กน้อย

 

ขอบคุณที่มาจาก

Bangkok Hospital

สสส

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments