โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่ทำลายความสามารถของหน่วยความจำ และการทำงานอื่นๆ ที่สำคัญทางจิตและสมอง เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะสมองเสื่อมส่งผลให้เกิดการสูญเสียทักษะทางปัญญา และทางสังคมที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
– เซลล์สมองมีการเสื่อมและตายลง นำไปสู่การหดตัวของสมอง ทำให้ความสามารถเกี่ยวกับความจำ และการทำงานของจิตใจ
ถดถอยลง
– อาจเกิดจากคราบตะกรันของกลุ่มก้อนโปรตีนที่เรียกว่า Beta-amyloid ที่สร้างความเสียหาย และทำลายเซลล์สมองในหลายวิธี
รวมทั้งรบกวนการสื่อสารของเซลล์ไปยังอีกเซลล์หนึ่ง
– กรรมพันธุ์ หรือจากกลุ่มโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดตีบ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น
อาการโรคอัลไซเมอร์
ในระยะแรกจะมีอาการหลงๆลืมๆหรือสับสน และจะเกิดความสับสนมากขึ้นเรื่อยๆ
ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ
– การทำซ้ำๆ และถามคำถามเดิมๆ โดยไม่ทราบว่า ตนเองได้ถามคำถามนั้นไปแล้ว
– ลืมเรื่องราวในการสนทนา เช่น การนัดหมาย หรือเหตุการณ์ต่างๆ
– วางข้าวของผิดที่จากที่เคยวางประจำ และมักจะวางในสถานที่ที่ไม่สมเหตุสมผล
– ลืมชื่อของสมาชิกในครอบครัวและคนในชีวิตประจำวัน
อาการเวียนศีรษะและมิติสัมพันธ์ (ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของตัวเองกับที่ว่าง และวัตถุอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับวัตถุ หรือ
สัมพันธ์กับตนเอง
สูญเสียการรับรู้ ว่าวันนี้คือวันอะไร ฤดูอะไร หรือสถานการณ์ชีวิต ณ ปัจจุบัน โรคอัลไซเมอร์อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถ
ของสมองในการตีความในสิ่งที่มองเห็นจึงทำให้ยากที่จะเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบๆตัว และในที่สุดปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่การ
สูญเสียหรือ หายไปจากสถานที่ที่คุ้นเคย
การพูดและการเขียน
มีปัญหาในการใช้คำพูดที่เหมาะสมในการระบุวัตถุ สิ่งของ การแสดงความคิดเห็น หรือมีส่วนร่วมในการสนทนา และความสามารถ
ในการอ่านและการเขียนลดลง
ความคิด และการใช้เหตุผล
เกิดความยากลำบากในการมุ่งเน้น จดจ่อ การคิด โดยเฉพาะเกี่ยวกับแนวคิดที่เป็นนามธรรม เช่น หมายเลข ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่การ
ไร้ความสามารถที่จะรับรู้และจัดการกับตัวเลข จึงควรมีการจัดการเรื่องของการเงิน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ของผู้ป่วยที่ต้องจ่ายเป็น
ประจำ และติดตามการใช้เงินของผู้ป่วยซึ่งอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นหากปล่อยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จัดการด้วยตัวเอง
การวางแผนและการปฏิบัติงานที่คุ้นเคย
กิจวัตรประจำวันที่ต้องทำตามขั้นตอนตามลำดับ เช่น การวางแผน และการทำอาหาร หรือเล่นเกมส์ที่ชื่นชอบ อาจทำให้ลืมวิธีทำ
กิจกรรมขั้นพื้นฐานเช่น การแต่งกายและการอาบน้ำ
การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพและพฤติกรรม
– ความหดหู่ ซึมเศร้า
– ความวิตกกังวล
– แยกตัวออกจากสังคม
– อารมณ์แปรปรวน
– ไม่ไว้วางใจในผู้อื่น
– หงุดหงิดและมีชความก้าวร้าว
– การเปลี่ยนแปลงนิสัยการนอน
– หลงทาง
– สูญเสียความยับยั้งชั่งใจ
– อาการหลงผิด เช่น เชื่อว่ามีบางสิ่งบางอย่างได้ถูกขโมยไป
โรคอัลไซเมอร์มีความเสี่ยงมากขึ้น เมื่อมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 85 ปี เป็นโรคอัลไซเมอร์
การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
– สิ่งสำคัญเป็นอันดับแรก คือการดูแลสภาพจิตใจของผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์ ด้วยการปฏิบัติต่อท่านด้วยความรักและเคารพ
– จัดระเบียบชีวิตของผู้ป่วยอัลไซเมอร์และผู้ดูแลใหม่ ในเรื่องของกิจวัตรประจำวันไม่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ เช่น การอาบน้ำ
รับประทานอาหาร ซึ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นปัญหาได้ทั้งหมด
– สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เช่น การจัดการกับสายไฟที่มีการต่อพ่วงกระจายไปทั่ว พรมที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม
การล็อคตู้ยา เก็บสารพิษอันตราย และเครื่องมือต่างๆ ให้อยู่ในที่ปลอดภัย
– ลดการรบกวน เช่นการปิดทีวีในระหว่างรับประทานอาหาร ในระหว่างการสนทนาเพื่อให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์สามารถมุ่งเน้น
ในสิ่งที่ทำ
– จำกัดตัวเลือกให้น้อยลง จะทำให้การตัดสินใจของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ง่ายขึ้น เช่น การให้เลือกเสื้อผ้าโดยมีตัวเลือกเพียงสองชุด
หรือจำกัดเสื้อผ้าในตู้ให้มีจำนวนน้อยลง
– ให้คำแนะนำง่ายๆ เมื่อผู้ป่วยถามเพื่อที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง
– ยินยอมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมบางอย่างได้ด้วยตัวเอง เช่น การแต่งตัว