การป้องกันการหกล้ม และอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

การป้องกันการหกล้มและอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

 

 

ปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุเป็นปัญหาใหญ่ที่นำมาซึ่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้นการป้องกันการหกล้ม และอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง เพราะในผู้สูงอายุจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกพรุน และกระบบควบคุมการทรงตัว ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดการหกล้ม กระดูกหัก กระดูกยุบได้บ่อยขึ้น

 

การลดปัจจัยเสี่ยง การหกล้ม และอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

– เลื่อนพรมเช็ดเท้าหน้าห้องน้ำ หรือภายในห้องน้ำหรือพื้นที่ลื่น

– ติดไฟตามทางเดินเพื่อให้แสดงสว่างเพียงพอช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

– ออกกำลังกายเพื่อฝึกการทรงตัว โดยการยืนย่ำเท้าอยู่กับที่ซึ่งอาจมีที่จับไว้เพื่อป้องกันการหกล้ม การนั่งบนเก้าอี้

กอดอกแล้วยืนขึ้นยืนโดยไม่ใช้มือช่วย  หากทำเป็นประจำจะช่วยผู้สูงอายุมีการทรงตัวที่ดีขึ้นลดอัตราเสี่ยงต่อการ

หกล้มในผู้สูงอายุ

–  ดูแลรักษาไม่ให้พื้น และบันไดลื่น

– ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเพิ่มทักษะการเคลื่อนไหว เช่น ไทเก๊ก โยคะสำหรับผู้สูงอายุ

– ค่อยๆ เปลี่ยนท่า เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตตกในท่ายืน หรือหน้ามืด

– จัดห้องนอน และเตียงให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่น หากเป็นบ้านสองชั้น ควรให้ผู้สูงอายุอยู่ชั้นล่าง และเตียงควรมี

ความสูงระดับหัวเข่า

– ติดตั้งราวจับในห้องน้ำข้างๆ โถส้วม และบริเวณที่ยืนอาบน้ำ รวมถึงพื้นห้องน้ำควรเปลี่ยนเป็นพื้นหยาบ

– ไม่มีของเกะกะระหว่างทางเดินภายในบ้าน

– รองเท้าสำหรับผู้สูงอายุควรมีพื้นกันลื่น และหมั่นสังเกตหากรองเท้ามีพื้นยางสึก

– เครื่องแต่งกาย กางเกง กระโปรง หรือผ้าถุง สำหรับผู้สูงอายุต้องไม่ยาวเกินไป

– ไม่ควรปล่อยให้ผู้สูงอายุขับขี่รถยนต์ เนื่องจากปัญหาทางสายตาที่เปลี่ยนไปอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

 

ตำแหน่งของกระดูกหักที่พบบ่อย

– บริเวณกระดูกสันหลัง

– กระดูกสะโพก

– กระดูกข้อมือ

 

ผลกระทบจากการหกล้มในผู้สูงอายุ

– การหกล้มในผู้สูงอายุทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ ซึ่งในบางรายอาจถึงขั้นกระดูกหัก เกิดความกลัวว่าจะล้มอีก

ทำให้ไม่กล้า หรือไม่ยอมเดิน ไม่ยอมยืนเลย ทำให้สภาพร่างกายมีการเสื่อม และถดถอยลง มีโรคแทรกซ้อนต่างๆ

ตามมาได้หลายโรค เช่น ภาวะกล้ามเนื้อลีบและเล็กลง หากมีการนอนนานๆ อาจทำให้เกิดแผลกดทับ

– ผลกระทบทางด้านจิตใจ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องพึ่งพา

บุตรหลาน หรือผู้ดูแล ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า

 

การฟื้นฟูผู้สูงอายุที่กลัวการหกล้ม

ผู้สูงอายุที่กลัวการหกล้ม ไม่ยอมยืน หรือ เดิน ผู้ดูแลควรจะให้ความมั่นใจกับผู้สูงอายุว่าสามารถฝึกยืน เดิน ได้โดยไม่มี

อันตรายจากการหกล้ม เช่น คอยจับผู้สูงอายุตลอดเวลา หรือใช้เครื่องช่วยเดิน และค่อยๆ ลดความช่วยเหลือลง

จนกระทั่งผู้สูงอายุสามารถยืน และเดินได้ด้วยตัวเอง

 

ขอบคุณรูปภาพจาก www.flickr.com

 

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments