ไวรัสตับอักเสบ ซี รักษาได้จริง (ตอนที่ 2)

ขั้นตอนการรักษาไวรัสตับอักเสบ ซี

         ในบทความนี้จะเป็นการเล่าขั้นตอนการรักษาในกรณีของคุณแม่เท่านั้น ซึ่งการรักษาของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน อาจแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์และความรุนแรงของเชื้อไวรัส รวมถึงสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย

 

การตรวจร่างกายอย่างละเอียด  สามารถสรุปผลได้ดังนี้

  1. เป็นตับอักเสบเรื้อรัง และตับแข็งประมาณ 10 %
  2. เป็นไวรัสตับอักเสบ ซี สายพันธุ์ที่ 3
  3. มีไวรัสจำนวน 2,000,000 ตัว (ต่ำกว่า 800,000 ตัว โอกาสตอบสนองต่อการรักษาจะมีสูง)
  4. เกล็ดเลือดแดง 83,000 (ค่าปกติ 140,000 – 450,000)
webmd.com1e

Credit photo : www.webmd.com

 

วิธีการรักษา และค่าใช้จ่ายโดยประมาณ

    1 . ฉีดยาเพ็คกิเลตเตด อินเตอร์เฟอรอน (Pegylated Interferron) ซึ่งเป็นยากระตุ้นภูมิต้านทานควบคู่กับการกินยาไรบาไวริน (Ribavirin) ที่เป็นยาระงับไวรัส เป็นเวลา 24-48 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกาย หากไม่ได้ฉีดยาแม้แต่อาทิตย์เดียวก็จะต้องเริ่มฉีดโดยนับเป็นเข็มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง ปัจจุบันมียาตัวใหม่แล้วคือ Vitrelis ซึ่งมีโอกาสหายถึง 90%

  1. ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นคือ มีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ผมร่วง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดจะต่ำลง ผู้ป่วยจำต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
  2. สามารถซื้อยาไปฉีดเองได้ จะมีเจ้าหน้าที่พยาบาลสอนวิธีการฉีดให้ หรือจะนำไปให้คลินิกใกล้บ้านฉีดให้ก็ได้ แต่จะต้องมาพบหมอ 2 สัปดาห์ครั้งในเดือนแรก และเดือนละ 1 ครั้งในเดือนถัดไป เพื่อตรวจเลือดดูเกล็ดเลือดและปฏิกิริยาตอบสนองต่อยา
  3. ค่าใช้จ่ายในการรักษา ยาฉีดเพ็คกิเลตเตด อินเตอร์เฟอรอน อยู่ที่ประมาณเข็มละ 10,000 บาท ส่วนยากินไรบาไวรินจะแถมมาคู่กับยาฉีด ซึ่งยานี้เป็นยานอกบัญชีหลักเบิกไม่ได้ (ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี สายพันธุ์ที่ 1 และ 6 สามารถเบิกได้แล้ว) ค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ายาอยู่ที่ 240,000 – 480,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่น ค่าอัลตร้าซาวด์ , ตรวจเลือด สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้

           คุณหมอได้ให้คำแนะนำว่า หากผู้ป่วยมีกำลังทรัพย์เพียงพอ  มีเวลา และมีคนที่จะสามารถดูแลอย่างใกล้ชิด(เนื่องจากผู้ป่วยอายุ 50 กว่าแล้ว) เพราะผลข้างเคียงของยานั้นอาจทำให้ไม่สามารถใช่ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ก็ควรที่จะเข้ารับการรักษา เพราะถ้าไม่รักษาอาจต้องเสี่ยงกับโรคตับแข็งมากขึ้น และกลายเป็นมะเร็งตับได้

 

กระบวนการรักษา

           เมื่อตัดสินใจที่จะรักษาแล้วคุณหมอจึงให้ไปบำรุงร่างกายมาคือทานอาหารที่มีประโยชน์ และทานยาบำรุงเลือด(โฟลิค) เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำอยู่ที่  83,000 (ค่าปกติคือ 140,000 – 450,000)ผ่านไป 1 เดือนได้กลับไปตรวจเลือดอีกครั้ง และค่าเกล็ดเลือดก็ยังอยู่ที่ 80,000 กว่าๆเช่นเดิม จึงประเมินว่าเป็นค่าปกติของร่างกาย  และตัดสินใจทำการรักษาโดยวางแผนไว้ให้ฉีดยาทั้งหมด 48 เข็ม ควบคู่กับการทานยา ระหว่างการรักษาหากเกล็ดเลือดต่ำลงกว่า 40,000 จะต้องหยุดการรักษาทันที

          ในครั้งแรกนั้นได้ฉีดยาเข็มแรกที่โรงพยาบาล และซื้อกลับไปฉีดเองที่บ้าน 1 เข็ม มีคุณพยาบาลสอนวิธีการฉีดและให้ระวังเรื่องความสะอาด เพื่อให้นำไปฉีดให้คุณแม่เองที่บ้านได้ ที่อยากจะฉีดเองที่บ้านไม่ไปให้คลีนิคใกล้บ้านฉีดก็เพราะต้องการหลีกเลี่ยงเชื้อโรคที่คลีนิค เพราะเมื่อฉีดยาแล้วภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่ำลงติดเชื้อโรคได้ง่าย และเป็นการประหยัดเวลาในการเดินทาง การรอคิวที่คลินิกด้วย

 

 

 คำแนะนำในการฉีดยา และทานยา

  • หากฉีดยาในวันใดแล้วก็ควรจะฉีดวันนั้นของทุกสัปดาห์ เช่น เข็มแรกฉีดวันอังคาร เข็มที่2 ,3 และเข็มต่อไปก็ควรฉีดวันอังคาร  หากลืมฉีดยาและนึกขึ้นได้ในวันพุธก็ให้ฉีดในวันพุธทันที และเข็มถัดไปก็กลับมาฉีดวันอังคารเช่นเดิม ไม่ต้องเลื่อนออกไป
  • การเก็บรักษายาฉีดเพ็คกิเลตเตด อินเตอร์เฟอรอน ควรเก็บไว้ในตู้เย็น ช่องแช่เย็นปกติ ห้ามเก็บไว้ในช่องฟรีส(แช่แข็ง)เด็ดขาด หากซื้อยามาเพื่อใช้หลายสัปดาห์ ควรจะเขียนวันที่ที่จะใช้ยานั้นไว้ด้วย ป้องกันการสับสนว่าฉีดยาไปแล้วหรือยัง  ส่วนยากินไรบาไวรินเก็บไว้ในอุณภูมิห้องปกติ
  • ยากินยาไรบาไวรินจะกินวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น หากมื้อเช้าลืมกินก็มากินมื้อกลางวันแทนได้ แต่หากลืมกินทั้งเช้าและกลางวัน ก็ให้กินแค่ยาสำหรับมื้อเย็นพอ ไม่ต้องกินชดเชย หรือหากว่ามื้อเย็นลืมกินยา ในวันถัดมาก็กินยาสำหรับมื้อเช้าตามปกติไม่ต้องไปเอาของเมื่อวานมากินด้วย ห้ามกินชดเชยเด็ดขาด
  • การเก็บรักษายากินจะเก็บไว้ในอุณภูมิห้องปกติ ควรจะจัดยาใส่ตลับแบ่งแยกตามวันเวลาที่กิน (จ, อ, พ… เช้า, เย็น) เพื่อป้องกันการหลงลืมว่าทานยาแล้วหรือยัง

 

   ผลข้างเคียงจากการรักษามีอะไรบ้าง  รุนแรงแค่ไหน  และปัจจัยอะไรที่ทำให้การรักษาประสบความสำเร็จ ติดตามได้ในบทความหน้านะคะ

 

 

 

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments