เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นสวัสดิการของรัฐบาลอย่างหนึ่งที่มอบให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน จากเบี้ยยังชีพเพียงเดือนละ 200 บาท จนถึงปัจจุบัน เดือนละ 1,000 บาท สำหรับผู้มีอายุ 90 ปี ขึ้นไป
คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพ
- สัญชาติไทยอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณถัดไป ( 30 กันยายน ของปีถัดไป)
- อยู่ทะเบียนบ้านในเขตที่ยื่นคำขอรับเบี้ยยังชีพ
- ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ , รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จัดให้ประจำ ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ , เบี้ยหวัด , บำนาญพิเศษ , ผู้อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ขั้นตอนการขอรับเงินเบี้ยยังชีพ
- เปิดให้ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ ในวันที่ 1 พ.ย. – 30 พ.ย. ของทุกปี
- นำเอกสารไปสมัครได้ที่พื้นที่เขตตามทะเบียนบ้าน
สามารถโอนเงินเบี้ยยังชีพเข้าบัญชีผู้อื่นได้ โดยแนบเอกสารเพิ่มเติมคือ
- บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และสำเนา
- หนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร
- สมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธ.กรุงไทย ของผู้รับมอบอำนาจ และสำเนา
หลักฐานการสมัครขอรับเงินเบี้ยยังชีพ
- บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกดดยหน่วยงานของรัฐ ที่มีรูปถ่าย เช่น ใบขับขี่ ทะเบียนบ้าน และสำเนา
- สมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธ.กรุงไทย และสำเนา
หากไม่สามารถมาสมัครเองได้ ต้องเพิ่มเอกสาร
- หนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร
- บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และสำเนา
เงื่อนไขการรับเบี้ยยังชีพ
สามารถรับได้จนผู้สูงอายุเสียชีวิต
ไม่สามารถขอรับเบี้ยยังชีพย้อนหลังได้ หามาสมัครเมื่ออายุเกิน 60 ปีแล้ว
จำนวนเงินเบี้ยยังชีพที่จะได้รับ เรียงตามขั้นบันได
อายุ ( ปี ) | เบี้ยยังชีพ เดือนละ (บาท) |
60 – 69 | 600 |
70 – 79 | 700 |
80 – 89 | 800 |
90 ขึ้นไป | 1,000 |
More from my site
แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^