14 ข้อบ่งชี้ว่าคุณเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ

โรคไทรอยด์เป็นพิษ

ไทรอยด์ คือชื่อของต่อมไร้ท่อที่ถือเป็นอวัยวะชิ้นหนึ่งภายในร่างกาย อยู่บริเวณลำคอใต้

ลูกกระเดือก มีลักษณะคล้ายผีเสื้อ อวัยวะชิ้นนี้เรียกว่า “ต่อมไทรอยด์” ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน

ไทรอยด์เพื่อควบคุมระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย เรียกว่า เมตาบอลิซึม

(Metabolism) อวัยวะที่อยู่ภายในร่างกายจำเป็นจะต้องใช้ฮอร์โมนไทรอยด์ในการทำงาน

แทบทั้งสิ้น นอกจากนี้โรคของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

5-10 เท่า

โรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเกิด

การเผาผลาญมากกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันสูงขึ้น มีอาการตื่นเต้น ผอมลง

ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่เป็นของเสีย ที่เกิดจาการเผาผลาญพลังงาน เมื่อเกิดเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้มีของเสีย

ในร่างกายมากกว่าปกติ อนุมูลอิสระจะเข้าไปทำลาย เยื่อต่างๆ และเซลล์ภายในร่างกายทำให้ร่างกายเสื่อม

โทรมลง ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษจึงมีอันตรายมาก

 

โรคต่อมไทรอยด์เสื่อม (Hypotgyroid) เกิดจากต่อมไทรอยด์มีการทำงานน้อยลงผลิตฮอร์โมนได้น้อยลงเนื่องจาก

เกิดการเสื่อมสภาพของร่ายกาย เช่น ผู้สูงอายุ ทำให้การเผาผลาญของร่างกายน้อยลงทำให้มีความเสี่ยงเป็น

โรคเบาหวาน อ้วนขึ้น  อาการของต่อมไทรอยด์เสื่อมจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ทำอะไรเชื่องช้า

 

โรคคอพอก เกิดจากร่างกายขาดไอโอดีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ เมื่อร่างกายขาดสาร

ไอโอดีนทำให้แม้ต่อมไทรอยด์ทำงานเพื่อสร้างฮอร์โมนอย่างไรก็ไม่สามารถสร้างได้ เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น

ทำให้เกิดอาการบวมที่เรียกว่า คอพอก นั่นเอง

 

อาการโรคไทรอยด์เป็นพิษ

1.  หงุดหงิด กระวนกระวาย วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน

2.  การสูญเสียน้ำหนักอย่างฉับพลันแม้จะมีการรับประทานอาหารในปริมาณเท่าเดิมหรือมากขึ้น

3.  มีความอยากอาหารมากขึ้น

4.  ใจสั่นมากผิดปกติ เหนื่อยง่าย

5.  เหงื่อแตกมาก หรือมีเหงื่อตลอดเวลา

6.  คอโต กลืนอาหารลำบาก

7.  หายใจลำบาก

8.  ตาโปน ซึ่งเกิดจากอาการภูมิแพ้ตัวเอง  โดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่ ซึ่งเมื่อเกิดไทรอยด์เป็นพิษจะทำให้กล้ามเนื้อหลังตาบวมและดันดวงตายื่นออกมา ตาแดง หรือตาบวม มองเห็นไม่ชัด

9.  ต่อมไทรอยด์โต (คอพอก)

10. การนอนหลับยาก

11. กินเยอะแต่น้ำหนักลด หรือน้ำหนักไม่เพิ่ม หรือ ขับถ่ายบ่อยขึ้น

12. ขาบวม

13. อาการสั่น มักจะเกิดขึ้นที่มือและนิ้วมือ

14. ในผู้สูงอายุอาจมีอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ อาจมีอัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้น แพ้ความร้อน

 

การป้องกันโรคไทรอยด์ เป็นพิษ

– ควรมีการเสริมไอโอดีนตั้งแต่วัยเด็ก เพราะหากขาดสารไอโอดีนที่นำมาสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ จะทำให้สมองทำงาน

ผิดปกติถึงขึ้นปัญญาอ่อนได้เลยทีเดียว

– รับประทานอาหารที่มีไอโอดีน

 

การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ

  1. แพทย์จะใช้ยาต้านไทรอยด์ใช้ระยะเวลาในการรักษาและติดตามผลประมาณ 1-2 ปี 
  2. การใช้สารกัมมันตรังสีไอโอดีน(Radioactive Iodine)ในการรักษา เนื่องจากไอโอดีนเป็นสานตั้งต้นของการสร้าง

ฮอร์โมนไทรอยด์ ดังนั้นเมื่อไอโอดีนเข้าไปสะสมในต่อมไทรอยด์ ก็จะเข้าไปทำลายเซลล์ที่ผิดปกติให้หมดไป

 

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments