ไต จะทำหน้าที่กรองเลือด และขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ ผ่านไปยังท่อไต และลำเลียง
ปัสสาวะไปสู่กระเพาะปัสสาวะ โดยก่อนที่ปัสสาวะจะถูกลำเลียงออกจากไต จะต้องผ่านหน่วย
ไตเล็ก เรียกว่า”กรวยไต” ซึ่งโรคกรวยไตอักเสบส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อในทางเดิน
ปัสสาวะนั่นเอง
สาเหตุของโรคกรวยไตอักเสบ
1. การกลั้นปัสสาวะบ่อย ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะมีจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดการติดเชื้อใน
กระเพราะปัสสาวะ และเกิดการอักเสบ เนื่องจากการแพร่กระจายของแบคทีเรียแล้วยังลามไปยังท่อไตขึ้นไปสู่กรวยไต
บางครั้งแบคทีเรียอาจลามไปที่ไตข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
2. การติดเชื้อแบคทีเรียที่พบในอุจจาระ เช่น อีโคไล (E. coli) หรือ เคลบเซลลา (Klebsiella)
3. แบคทีเรียที่มาจากผิวหนัง
4. ทางเดินปัสสาะวะมีการอุดตัน หรือปัสสาวะขัดไหลออกช้า ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ต่อมลูกหมากโต ,มีก้อนในช่องท้อง
หรืออุ้งเชิงกราน (ที่เกิดจากโรคมะเร็ง), นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือไต
อาการกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
1. ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้
2. มีไข้สูง หรือ หนาวสั่น แต่ไข้จะลดลงตอนเช้า อาจจะเป็นๆหายๆ โดยอาการนี้จะเป็นลักษณะสำคัญที่บ่งชี้ถึงโรค
กรวยไตอักเสบ
3. มีอาการอ่อนเพลีย หรือรู้สึกไม่สบายตัว
4. มีอาการปวดหลัง หรือปวดสีข้าง
5. คลื่นไส้อาเจียน
6. มีอาการมึนงง สับสน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีกรวยไตอักเสบ มักพบอาการนี้ร่วมด้วยบ่อยครั้ง
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในปัสสาวะ
– มีเลือดปนในปัสสาวะ หรือปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
– ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นเหม็น
– มีอาการปวด หรือรู้สึกเจ็บท้องน้อยเมื่อปัสสาวะ
– ปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกติ
– นิ่วในไตมีส่วนนำไปสู่การเกิดภาวะกรวยไตอักเสบ โดยก้อนนิ่วเป็นที่อาศัยอย่างดีของแบคทีเรีย ที่จะต้องถูกขับออกไป
กับปัสสาวะ
– ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรืออาการที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีแนวโน้มอ่อนแอ และเสี่ยงต่อการเกิด
กรวยไตอักเสบ
การตรวจวินิจฉัยของแพทย์
– ทำการซักประวัติคนไข้ เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย
– ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจชีพจร เช็คอาการกดเจ็บของไต
– ตรวจปัสสาวะที่อยู่ในกรวยไต และทำการตรวจวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์
– การเพาะเลี้ยงเชื้อในปัสสาะวะที่เก็บตัวอย่างมา ภายในไม่กี่วันแบคทีเรียในปัสสาวะอาจเติบโตในจานเพาะเลี้ยง
ซึ่งจะช่วยให้การใช้ยาปฏิชีวนะได้ผลดียิ่งขึ้น
– การเพาะเลี้ยงในกระแสโลหิต ในกรณีที่ผู้ป่วยกรวยไตอักเสบมีการแพร่กระจายของแบคทีเรียในกระแสเลือด
– การตรวจด้วยเครื่อง CT scan
– อัลตร้าซาวนด์ไต
การป้องกันโรคกรวยไตอักเสบ
– ไม่ควรกลั้นปัสสาวะบ่อย และกลั้นปัสสาวะนานๆ เพราะจะทำให้มีโอกาสติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะง่ายขึ้น
– หากเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่งไม่ควรหยุดยาเมื่อมีอาการดีขึ้น เนื่องจาก
ในกระเพาะปัสสาวะยังมีเชื้อแบคทีเรียเหลืออยู่ หากมีการหยุดยาเชื้อแบคทีเรียเหล่านั้นจะไม่ถูกทำลาย ทำให้แบคทีเรีย
มีจำนวนเพิ่มขึ้น และทำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงขึ้น จนกระทั่งลามไปที่กรวยไต และเมื่อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด
จะทำให้เลือดเป็นพิษ และเสียชีวิตในที่สุด
– พักผ่อนให้เพียงพอ
– สร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
– ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยการสังเกตจากสีของน้ำปัสสาวะให้มีสีใส หรือสีเหลืองจางๆ
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของกรวยไตอักเสบ
– เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย เพราะมีกระเพาะปัสสาวะที่สั้นมากกว่าผู้ชาย ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น นอกจากนี้
ลักษณทางกายวิภาคของเพศหญิงที่อวัยวะเพศอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับทวารหนัก ทำให้มีโอกาสติดเชื้อจากแบคทีเรีย
ที่อาศัยอยู่รอบๆ ทวารหนักมากขึ้น
– หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กรวยไตมากกว่าคนทั่วไป
– ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ สาเหตุที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น โรคเอดส์ เบาหวาน ทำให้มีความเสี่ยงของการ
ติดเชื้อในไตมากขึ้น
– ยาบางชนิด ที่ใช้เพื่อป้องกันการไม่ยอมรับ หรือการปฏิเสธอวัยวะที่มีการปลูกถ่าย
– เส้นประสาทรอบกระเพาะปัสสาวะเกิดความเสียหาย หรือความเสียหายของเส้นประสาทไขสันหลังที่อาจปิดกั้น
การรับรู้ ทำให้เมื่อกระเพาะปัสสาวะมีการอักเสบ ไม่แสดงอาการให้รู้จนกระทั้งลามไปที่กรวยไต
– ใช้เวลาในการสวนปัสสาวะนาน
– เป็นโรคปัสสาวะไหลย้อนกลับ