โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูกที่เชื่อมต่อกับช่องคลอด เกิดจากการ
ติดเชื้อ Papillomavirus (HPV) จากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดโรค
มะเร็งปากมลูก เมื่อร่างกายสัมผัสเชื้อไวรัส HPV ระบบภูมิคุ้มกันของผู้หญิงโดยทั่วไปแล้วจะ
ป้องกันไม่ให้ไวรัสทำอันตรายต่อร่างกาย แต่ไวรัสนั้นสามารถมีชีวิตอยู่นานหลายปี ซึ่งเอื้อต่อกระบวนการที่ทำให้เซลล์บางอย่างบนผิวของปากมดลูกที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็งในเวลาต่อมา
ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจคัดกรองและการฉีดวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อ HPV เพือลดความ
เสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
อาการโรคมะเร็งปากมดลูก
ในระยะแรกโรคมะเร็งปากมดลูกมักจะไม่ปรากฏอาการ จนกว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อ และอวัยวะ
อื่น ๆ ซึ่งหากแสดงอาการจะมีสัญญาณเหล่านี้
– มีเลือดออกทางช่องคลอดหลัง หรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
– มีอาการตกขาวมากผิดปกติ บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาด้วย หรือบางครั้งอาจมีกลิ่นเหม็น
– มีอาการปวดกระดูกเชิงกราน หรือปวดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
– น้ำหนักลด
– มีปัญหาในการปัสสาวะ
– ในช่วงที่มีประจำเดือนจะเลือดออกมากผิดปกติ และช่วงเวลาในการเป็นประจำเดือนนานขึ้น
หากมีอาการใดๆ เหล่านี้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ซึ่งหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก จะช่วยเพิ่มอัตรา
การรอดชีวิตและสามารถรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูก
แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มักจะมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของเซลล์มะเร็ง แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงของการ
เกิดโรคมะเร็ง บางคนที่มีปัจจัยเสี่ยงก็ไม่เป็นโรคมะเร็ง แต่บางคนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ก็สามารถเป็นโรคมะเร็งได้เช่นกัน
แต่การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็ช่วยให้ดำเนินชีวิตในทางที่ดีต่อสุขภาพมากชึ้น
1. เชื้อไวรัส Papillomavirus (HPV) การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของสาเหตุการเกิดโรค
มะเร็งปากมดลูก โดยการติดเชื้อไวรัส HPV จะถูกส่งผ่านจากคนสู่คนโดยการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่ง HPV นั้นมีหลาย
สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน และบางสายพันธุ์มีความเชื่อมโยงอย่างมากของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
2. ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง ในผู้หญิงที่มีระบบภูมิคุ้มกันลดลง มีความเสี่ยงสูงของการเกิดโรคมะเร็ง
ปากมดลูก การลดลงของภูมิคุ้มร่างกายอาจเกิดจาก สารสเตียรอยด์ที่กดภูมิคุ้มกัน การปลูกถ่ายอวัยวะ การรักษา
มะเร็งชนิดอื่นๆ หรือจากเชื้อไวรัส HIV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เมื่อผู้หญิงที่มีเชื้อ HIV ร่างกาย
จะไม่สามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้
3. โรคเริม (Herpes) ผู้ที่มีโรคเริมที่อวัยวะเพศ จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกมากกว่า
4. การสูบบุหรี่ ทำให้มีแนวโน้มของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกมากเป็นสองเท่าของผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่
5. อายุ ผู้หญิงที่มีอายุในระหว่างช่วงวัยกลางคน หรือมีอายุมากกว่า 40 ปี
6. ยาคุมกำเนิด ในบางงานวิจัยระบุว่ายาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง เพิ่มความเสี่ยงของการเป็น
โรคมะเร็งปากมดลูก
7. ยา Diethylstilbestrol (DES) ผู้หญิงที่มารดาได้รับยานี้ในระหว่างการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของการเกิดมะเร็งปากมดลูก
วิธีป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก
– ฉีดวัคซีน ป้องกันไวรัส HPV ป้องกันสายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจง
– ยืดเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก คือช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือมากกว่า
– การจำกัดจำนวนคู่นอน
– หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีคู่นอนเป็นจำนวนมาก
– หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีการติดเชื้อหูดที่อวัยวะเพศ หรือมีการแสดงอาการอื่นๆ
– มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HPV
และยังช่วยป้องกัน โรคเอดส์ โรคเริมที่อวัยวะเพศ
– เลิกสูบบุหรี่
– เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ โดยผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปควรมีการตรวจคัดกรองมะเร็ง
ปากมดลูกอย่างน้อย 2-3 ปีต่อครั้ง สำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 65-70 ปีสามารถหยุดการตรวจคัดกรองหากใน 10 ปีที่ผ่านมา
มีผลการตรวจคัดกรองเป็นปกติ