โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดภายในต่อมลูกหมากของผู้ชายซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกวอลนัท ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำอสุจิที่ช่วยบำรุง และลำเลียงสเปิร์ม มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งชนิดที่พบมากอันดับต้นๆของผู้ชาย มักจะมีการเติบโตของเซลล์มะเร็งอย่างช้าๆ หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้มะเร็งลุกลามและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
อาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
– แรงขับปัสสาวะลดลง หรือปัสสาวะขัด หยุดชะงัก
– มีเลือดในน้ำอสุจิ
– รู้สึกไม่สบายบริเวณกระดูกเชิงกราน หรือต้นขาบริเวณโคนขาหนีบ
– ปวดกระดูก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน หรือกระดูกซี่โครง
– มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
– ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน
– หากมะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังกระดูกสันหลัง และเส้นประสาทไขสันหลังถูกบีบอัด จะทำให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอัมพาต
หรือนับตั้งแต่สะโพกไปถึงข้อเท้า เรียกว่า Lower limb ได้แก่ ต้นขา เขาและปลายขา ซึ่งมักมีอาการท้องผูกร่วมด้วย
– เมื่อมีอาการไอ หัวเราะ ปัสสาวะเล็ด (มะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูกสันหลัง และเส้นประสาทไขสันหลัง)
– รู้สึกเจ็บ หรือแสบร้อนในระหว่างการถ่ายปัสสาะวะ
– น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
– อาการบวมของกระดูกส่วนขา (Lower extremities) คือ ตั้งแต่ข้อสะโพกไปจนถึงปลายนิ้วเท้า
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
– ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ดังนั้นผู้เสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากมากที่สุด คือผู้ชายอายุตั้งแต่ 45 ปี
ขึ้นไป
– พันธุศาสตร์(Genetics) ผู้ชายผิวดำมีความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าชนชาติอื่นๆ และเมื่อเป็นแล้วมะเร็งต่อมลูกหมาก
จะมีความรุนแรงมาก ซึ่งยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร
– มีประวัติของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ในครอบครัว จะทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูก
หมากสูงขึ้นมากกว่าคนทั่วไป
– ความอ้วน หรือโรคอ้วนลงพุง ในคนอ้วนที่เป็นมะเร็งต่อมลูกมากจะมีแนวโน้มของความรุนแรงของโรค และการรักษาที่ยากมากขึ้น
กว่าคนปกติ
– การขาดวิตามิน D , การรับประทานเนื้อแดงเป็นประจำ อาจเพิ่มโอกาสของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
– โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (กามโรค) ผู้ชายที่เป็นโรคหนองในมีโอกาสสูงในการพัฒนาของเชื้อจนกลายเป็นโรคมะเร็งต่อมลูก
หมาก
– การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด
ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
– มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือทางผ่านระบบกระแสเลือด หรือ
ระบบน้ำเหลือง
– หากมะเร็งแพร่ไปยังกระดูกจะทำให้เกิดอาการปวดกระดูก กระดูกหัก
– ทั้งมะเร็งต่อมลูกหมาก และการรักษาสามารถทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
– การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อาจเป็นผลมาจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือการรักษารวมทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี หรือการ
รักษาด้วยฮอร์โมน
– หากมะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายไปยังท่อไปที่จะไปปัสสาวะจากไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะมีความเสี่ยงที่ต่อการเกิดโรคไต
หรือปัญหาเกี่ยวกับไตอย่างรุนแรง
– มีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นหากผู้ป่วย มีความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น รับไขมันในเลือดสูงและมีค่า BMI สูง
การป้องกันและลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
– เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่เต็มไปด้วยผักและผลไม้ รวมถึงธัญพืช หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
– เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าการรับประทานอาหารเสริม
– การออกกำลังกายเป็นประจำหรืออย่างน้อย 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์
– รักษาน้ำหนักเพื่อสุขภาพ
อาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก
– ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่นเต้าหู้ และถั่วเหลือง
– มะเขือเทศ และอาหารที่มีซอสมะเขือเทศ
– ผักตระกูลกะหล่ำ และผักใบเขียว เช่น บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ และกะหล่ำปลี
– ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่าและปลาซาร์ดีน
– วอลนัทและ เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) รวมถึงน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ด้วย
อาหารเหล่านี้นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแล้วยังส่งผลดีและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
ร่างกายในด้านอื่นๆอีกด้วย