เมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

เมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ควรเป็นอาหารที่มีการควบคุมปริมาณของโปรตีน ฟอสฟอรัส และจำกัดปริมาณของแคลเซียม โซเดียม และโพแทสเซียม ซึ่งเมนูเหล่านี้จะช่วยลดปริมาณของเสียที่ร่างกายสร้างขึ้น และสามารถช่วยให้ไตของผู้ป่วยทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการชะลอภาวะไตวายโดยรวม อาหารของผู้ป่วยอาจมีการปลี่ยนแปลงไปตามอาการของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง และผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน

 

เมนูอาหารที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากอาหารปกติ

โปรตีน  มีการจำกัดปริมาณโปรตีนที่รับประทานเข้าไป เพื่อช่วยลดของเสียในเลือดของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เพราะร่างกายจะทำการย่อยโปรตีน และดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ส่วนที่ไม่ถูกย่อย หรือกากของโปรตีนจะกลายเป็นยูเรียที่ไตจะต้องขับออกมานั่นอง อาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์

ปริมาณฟอสฟอรัส เนื่องจากไตของผู้ป่วยไม่สามารถกำจัดฟอสฟอรัสที่สร้างขึ้นในเลือดได้ ซึ่งอาจทำให้กระดูกสูญเสียแคลเซียม หรือระดับแคลเซียมลดลง  เมนูอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม ถั่วทุกชนิด และเมล็ดธัญพืช นกจากนี้ฟอสฟอรัสยังพบในชา กาแฟ โกโก้ เบียร์ และเครื่องดื่มโคล่า

โซเดียม หากผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงหรือมีของเหลวในร่างกายมาก การจำกัดการบริโภคโซเดียมควรอยู่ที่ 1500 มิลลิกรัม เท่านั้น อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารกระป๋อง เกลือ ซุป ขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม และเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม และอาหารสำเร็จรูป

โพแทสเซียม ลดอาหารที่มีโพสแทสเซียมสูง ได้แก่ ผักและผลไม้ ซึ่งผักที่มีสีเขียวแทบทุกชนิดมีโพสแทสเซียมรวมถึงผลไม้และน้ำผลไม้ เช่น กล้วย

ของเหลวต่างๆ ถึงแม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากการรักษาดื่มน้ำปกติ (เช่น 1.5-2 ลิตรทุกวัน)ก็ตามแต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังควรดื่มน้ำเมื่อรู้สึกกระหายน้ำเท่านั้น และควรหลีกเลี่ยงการขาดน้ำซึ่งจะไม่ดีต่อการทำงานของไต  หากร่างกายของผู้ป่วยมีอาการบวมน้ำ และของเหลวที่อาจสร้างขึ้นในปอดอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่นการหายใจถี่

 

เมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ควรรับประทาน

– เนื้อปลา ไข่ขาว หรือไข่นกกะทา (เพียง1ฟองเท่านั้น) เนื้อไก่ เนื้อหมู ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น

 

เมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ควรหลีกเลี่ยง

– ข้าวโพด

– มันเทศ เผือก พืชที่เป็นหัวจะมีปริมาณโพแทสเซียมค่อนข้างสูง

– ข้าวกล้อง ควรเลือกข้าวกล้องที่มีสีขาว เพราะข้าวกล้องที่มีสีเข้มนั้นจะมีทั้งฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมมาก

– ขนมจีน

– ขนมปัง

– จมูกข้าวสาลี

– กุ้ง

 

อย่างไรก็ตามในเมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังของแต่ละ

บุคคลซึ่งบางคนอาจรับประทานอาหารบางชนิดได้ บางคนอาจไม่ได้ หรือปริมาณการรับประทานอาจมากน้อยไม่เท่ากัน

เนื่องจากสภาพการทำงานของไตของผู้ป่วยนั้นแตกต่างกัน

 

ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังควรรับประทานอาหารตามคำแนะนำของนักโภชนาการที่ดูแลเรื่องอาหาร

ของผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร และภาวะไตวายเฉียบพลัน

 

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments