ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้ดูแลควรจะใส่ใจและหมั่นสังเกตุความเปลี่ยนแปลง เพื่อดูแลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมอ หากทำการปล่อยปละละเลย อาจทำให้เกิดผลกระทบตามมาเช่น โรคซึมเศร้าหรือภาวะสมองเสื่อมได้
14 วิธีเพื่อการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุให้ดีอยู่เสมอ
1. ให้ความเคารพ นับถือ และยกย่อง เป็นสิ่งแรกที่ควรจะต้องปฏิบัติในการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ที่ผู้ดูแลจะต้องทำ
เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่ากับคนในครอบครัว
2. พยายามดูแลความสงบภายในบ้าน ป้องกันเสียงดังรบกวนผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยง
อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
3. ไม่ควรที่จะนำปัญหา หรือเรื่องเครียดมาเล่าให้ฟัง เพราะจะสร้างความวิตกกังวลแก่ผู้สูงอายุ
4. สร้างความั่นใจให้แก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้งอายุมักจะวิตกกังวล หรือความกลัวที่จะต้องเป็นภาระแก่ลูกหลาน
กลัวไม่มีคนดูแล กลัวตนเองจะไร้ค่า ซึ่งความวิตกกังวลเหล่านี้มักจะทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ และอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า
5. หางานอดิเรกที่เหมาะกับผู้สูงอายุให้ทำ เช่น การเลี้ยงสัตว์ ดูแลสวน หรือต้นไม้ภายในบ้าน
6. แบ่งเวลา หรือจัดตารางทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับผู้สูงอายุ หรือทำหากิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว โดยเฉพาะ
ผู้สูงอายุที่มีบุตร หลาน ที่อยู่ในบริเวณบ้านเดียวกัน การใช้เวลาทำกิจกรรม ร่วมกับลูกหลานนั้น สามารถสร้างความสุข
ให้แก่ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี
7. จัดการสภาพแวดล้อมที่โล่ง โปร่ง และมีความปลอดภัย จะช่วยให้การดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุนั้นทำได้ดียิ่งขึ้น
8. ร่วมทำกิจกรรมสันทนาการร่วมกับผู้สูงอายุ เช่น การได้พาผู้สูงอายุไปออกกำลัง และการออกกำลังกายด้วยกัน
การเดินเล่นรอบๆสวนสาธารณะด้วยกัน
9. ไม่แสดงอาการหงุดหงิด หรือแสดงออกว่ารำคาญ เมื่อผู้สูงอายุถามคำถามซ้ำๆ หรือตอบคำถามไม่ได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมา
จากภาวะสมองเสื่อม เพราะการแสดงออกว่ารำคาญ ไม่พอใจ อาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตัว
เองได้ และอาจนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า
10. ไม่ควรใช้น้ำเสียงรุนแรงตอบโต้ หรือโต้เถียง หากผู้สูงอายุมีอาการหวาดระแวง หรือกล่าวโทษบุคคลอื่น ควรใช้
น้ำเสียงที่นุ่มนวล และเบี่ยงเบนความสนใจของผู้สูงอายุให้ไปทำกิจกรรมอย่างอื่น
11. หมั่นพาผู้สูงอายุเข้าวัดทำบุญ เพราะการสวดมนต์ ไหว้พระ ฟังธรรม การนั่งสมาธิ และการได้ไปทำบุญนอกสถานที่
ความรู้สึกใกล้ชิดกับพุทธศาสนา จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีจิตใจสงบ เบา และเกิดความสบายใจขึ้น
12. หมั่นคอยสังเกตอาการของผู้สูงอายุที่อาจเป็นสัญญาณของโรคที่เป็นปัญทางทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เช่น
ภาวะซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์
13. สร้างความรู้สึกมีคุณค่าให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น การขอคำปรึกษาในเรื่องที่คาดว่าผู้สูงอายุสามารถให้คำปรึกษาได้ เช่น การ
เลี้ยงลูก การดูแลบ้าน การทำอาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่จะสามารถช่วยให้สุขภาพจิตของผู้สูงอายุดีขึ้น และเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัว
เองมากขึ้น ลดความรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่ากับคนในครอบครัว
14. ดูแลเรื่องอาหารที่ดีมีประโยชน์ เล่าถึงประโยชน์ของอาหารแต่ละอย่างจะดีอย่างไรต่อสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นการดูแล
สุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่ทำให้รู้สึกว่าผู้ดูแล หรือลูกหลานใส่ใจสุขภาพของตนไม่ละเลย