สัญญาณโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

 

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มักเกิดจากความเครียดทางอารมณ์ อาการนอนไม่หลับ หรืออาจเกิดจาก
การเสียความสามารถในการทำงานจากที่เคยทำเป็นปกติ  ผลกระทบจากยาที่ใช้ในการรักษาผู้สูงอายุ ระดับของการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ เป็นต้น

อาการและสัญญาณของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

– อารมณ์ซึมเศร้าที่มีระยะเวลาสองสัปดาห์ หรือนานกว่านั้น และคงอยู่ตลอดทั้งวัน

– ความสนใจในงานอดิเรก หรือกิจกรรมที่ทำเป็นปกติ หรือความสนุกสนานเพลิดเพลินหายไป

– แยกตัวออกจากสังคม ไม่เต็มใจที่จะอยู่กับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน หรือออกจากบ้าน

– คิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามที่จะฆ่าตัวตาย

– นอนหลับยาก หรือไม่สามารถนอนหลับต่อ มีอาการง่วงนอนตอนกลางวัน  อาการนอนไม่หลับมักจะเป็นอาการเริ่มต้น

ของโรคซึมเศร้าของทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ 

– น้ำหนักลด เบื่ออาหาร

– กระวนกระวาย

– ความเหนื่อยล้า

– ความรู้สึกผิด ไร้ค่า หรือความสิ้นหวัง

– มีความยากลำบากในการจดจ่อหรือการจดจำ

– มีความกังวลเกี่ยวกับการเป็นภาระความรู้สึกของความไร้ค่า

– มีพฤติกรรมการเพิ่มปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นหรือมาใช้ยาอื่นๆ มากขึ้น

 

ผลกระทบจากโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

– โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ และเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย

ในเวลาเดียวกัน

– โรคซึมเศร้าจะลดความสามารถของผู้สูงอายุที่จะฟื้นฟูสภาพร่างกาย

– เพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย

– เพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

 

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

– เป็นเพศหญิง

– อาศัยอยู่ตามลำพังโดยที่ไม่เคยแต่งงาน 

– ขาดการสนับสนุนเครือข่ายทางสังคม

– เหตุการณ์ในชีวิตที่มีความเครียด

– สภาพทางกายภาพ เช่นโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเบาหวาน  โรคมะเร็ง

ภาวะสมองเสื่อม

– ความเสียหายให้ที่เกิดกับสภาพร่างกาย เช่น จากการตัดแขน ขา ,การผ่าตัดมะเร็งหรือหัวใจวาย

– ประวัติครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า หรือเคยเป็นโรคซึมเศร้าในวัยเด็ก

– การกลัวความตาย

– อาการเจ็บป่วยอื่นๆ

– อาการปวดเรื้อรังหรืออาการปวดอย่างรุนแรง

– การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

 

ขอบคุณภาพจาก www.flickr.com

 

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments