การออกกําลังกายสำหรับผู้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัดที่ช่วยลดอาการปวดหลังที่เกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นได้เป็นอย่างดี แต่การออกกำลังกายนั้น จะต้องอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญ และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายสามารถช่วยให้กระดูกสันหลังอยู่ในตำแหน่งที่เป็นกลางในระหว่างทำกิจกรรมประจำวันได้
ท่าบริหารในการออกกำลังกายสำหรับผู้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้น
- นอนคว่ำ วางแขนราบลงกับพื้น โดยทำมุมตั้งฉาก และยกตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย ค้างไว้ประมาณ 1นาที
- จากนั้นนอนคว่ำเหมือนเดิมวางแขนราบกับพื้นประคองหรือดันตัวขึ้นไปบนข้อศอกและให้สะโพกอยู่บนพื้น แอ่นหลังขึ้น โดยควรเริ่มต้นอย่างช้าๆ และระมัดระวังเนื่องจากผู้ป่วยบางรายไม่สามารถทนอยู่ท่านี้ได้ในครั้งแรก
- ในครั้งแรกทำค้างไว้ 5 วินาทีโดยประมาณ และค่อยๆ ทำให้ได้ถึง 30 วินาทีต่อ 1เซต ทำประมาณ 10 ครั้ง
- นอนคว่ำใช้ฝ่ามือกดพื้นเพื่อดันตัวขึ้นอย่างช้า ๆ โดยให้สะโพกติดอยู่กับพื้น และค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาที ทำซ้ำกัน 10 ครั้ง หากผู้ป่วยไม่มีอาการปวดเมื่ออยู่ในท่านี้ หรือปวดเพียงเล็กน้อย ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แสดงถึงการพัฒนาของหมอนรองกระดูกเริ่มถูกผลักให้เข้าที่มากขึ้นเรื่อยๆ
- หากไม่สามารถที่จะนอนราบได้ การออกกำลังกายที่คล้ายกันก็สามารถทำได้ โดยการยืนตรง และเอามือเท้าสะเอว จากนั้นค่อยๆ แอ่นตัว หรือโค้งงอตัวไปด้านหลังหัวเข่างอเล็กน้อย และโค้งกลับอย่างช้าๆ
- การฝึกกล้ามเนื้อหลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เพราะด้านข้างของกระดูกสันหลังจะมีกล้ามเนื้อที่เป็นตัวช่วยยึดโครงกระดูกและตัวช่วยลดแรงกดดัน ของหมอนรองกระดูก การออกกำลังกายสำหรับผู้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหลังทำได้โดย นอนคว่ำกับพื้น เหยียดแขนไปทางด้านหลังให้ขนานกับลำตัว จากนั้นยกศีรษะขึ้น โดยเกร็งค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ทำประมาณ 10 ครั้งต่อ 1 เซ็ต
ท่าฝึกโยคะ สำหรับรักษาโรคหมอนรองกระดูก ตอนที่ 1
ท่าฝึกโยคะ สำหรับรักษาโรคหมอนรองกระดูก ตอนที่ 2
ท่าฝึกโยคะ สำหรับรักษาโรคหมอนรองกระดูก ตอนที่ 3
การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การเดิน ปั่นจักรยานอยู่กับที่ ว่ายน้ำ
การออกกําลังกายที่ควรหลีกเลี่ยง
– กิจกรรมที่ทำให้เกิดความเครียดควรที่จะหลีกเลี่ยง เพราะไม่เหมาะกับหลังส่วนล่าง หรือการที่จะต้องเคลื่อนไหวบิดอย่างฉับพลัน
เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ บัลเล่ต์ และการยกน้ำหนัก
– การวิ่งจ๊อกกิ้งมักจะไม่แนะนำอย่างน้อยห้ามจนกว่าอาการปวดหลังจะหายไป และกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง
– ไม่ควรบังคับ หรือฝืนร่างกายตัวเองในการออกกำลังกาย ถ้าหากการออกกำลังกายเหล่านั้นทำให้อาการปวดมากขึ้น
รู้ทันอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
เครื่องยืดกระดูก กับการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ขอบคุณข้อมูลคลิปวิดีโอจาก กรุงเทพธุรกิจทีวี
ขอบคุณรูปภาพจาก www.flickr.com