การดูแลผู้สูงอายุนั้นเป็นงานที่สำคัญ และมีรายละเอียดมากมาย ยิ่งหากต้องดูแลเพียงคนเดียวแล้ว ก็อาจจะเกิดความเครียดตามมาได้ ซึ่งความเครียดเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การทำงานมากเกินไป การนอนหลับไม่เพียงพอ มีการจัดการกับครอบครัวและการทำงานในเวลาเดียวกัน และมีเวลาให้แก่ตัวเองไม่มากนัก รวมถึงความกดดันทางการเงิน และภาระงานที่เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งความเครียดที่เข้ามานั้นก็อาจส่งผลต่อสุขภาพทางร่างกายและอารมณ์ได้
สัญญาณและอาการของความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุ
1. ความวิตกกังวล ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย ร้องไห้บ่อย
2. ความโกรธ อาจเริ่มมีการตะโกนกับผู้สูงอายุที่กำลังดูแล หรือควบคุมอารมณ์ของตนเองกับคนอื่นๆได้ยาก
3. รู้สึกเหนื่อย และโทรมลง
4. นอนหลับยาก อาจจะรู้สึกเหนื่อยแต่ไม่สามารถนอนหลับได้ นอกจากนี้ยังอาจตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืน หรือมีฝัน
ร้าย หรือความฝันที่มีความเครียด
5. มักตื่นขึ้นมาพร้อมกับอาการอ่อนเพลีย แม้จะมีการนอนหลับที่ดี
6. มีปฏิกิริยารุนแรงเกินไปกับสิ่งที่ก่อความรำคาญเล็กๆน้อยๆ
7. มีปัญหาสุขภาพใหม่ หรือปัญหาสุขภาพที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง
8. จดจ่อกับการแก้ปัญหามากเกินไป
9. ความรู้สึกไม่พอใจมากขึ้น
10. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกิน ซึ่งจะส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก หรือน้ำหนักลดลงมาก
11. ละเลยความรับผิดชอบ และความต้องการของตัวเอง คิดเกี่ยวกับผู้ที่ต้องดูแล และทุกอย่างที่ต้องทำ ส่งผลให้มี
ปัญหาในความรับผิดชอบทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน
12. ดื่มสุราสูบบุหรี่มากขึ้น หรือเริ่มสูบบุหรี่ และดื่มเหล้าเป็นครั้งแรกในชีวิต
13. ตัดเวลาในกิจกรรมสันทนาการให้สั้นลง
14. รู้สึกหมดแรงตลอดเวลาแม้หลังจากการนอนหลับหรือการพักผ่อน
15. รู้สึกหมดหนทางและสิ้นหวัง
16. มีปัญหาในการผ่อนคลาย
เมื่อสัญญาณความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุนั้นแสดงออกมา ผู้ดูแลควรจะตระหนักและหาวิธีแก้ไขสาเหตุ
ของความเครียดนั้นๆ เพราะหากปล่อยให้เกิดความเครียดเรื้อรัง ก็จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพกายและใจ
ทั้งของตัวผู้ดูแล และตัวผู้สูงอายุเองด้วย
ขอบคุณภาพจาก www.flickr.com