โรคเก๊าท์ (Gout) เกิดจาการตกตะกอนของกรดยูริกในร่างกายคนทำให้เกิดการอักเสบตามบริเวณข้อ ถ้าทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน ก็อาจลามไปที่ผิวหนัง ใบหู หรือไตได้
กรดยูริก คือ สารที่เกิดจากร่างกายมีการเผาผลาญสารพิวริน ที่เกิดขึ้นเองจากเซลล์ของร่างกาย และอาหารที่เราบริโภคเข้าไป
อาการของโรค
- มีการปวดตามข้อ โดยเฉพาะโคนนิ้วหัวแม่เท้า หรือหลังเท้า, ข้อเท้า แรกๆอาจเป็นๆ หายๆ หรืออาจจะไม่ได้เป็นที่ข้อเดิม พอนานเข้าก็จะปวดถี่ขึ้น การปวดจะปวดมากอาจยาวทั้งคืน หากเป็นแบบเฉียบพลัน ก็จะปวดบวมแดงร้อนมากใน 24 ชั่วโมงแรก ซึ่งจะค่อยๆลดลงและหายสนิทใน 5-7 วัน หากเป็นบ่อยมากกว่า 2 ครั้งก็ควรจะไปพบแพทย์
- หากมีอาการอักเสบ ไม่ควรบีบนวด เพราะจะทำให้กรดยูริกโดยรอบเข้ามาในข้อ ควรพักการใช้งานบริเวณนั้น และประคบเย็น อาจจะยกเท้าสูงช่วยด้วย
- มีตุ่มก้อนตามข้อ เนื้อเยื่อ เอ็นบริเวณข้อ ใบหู ข้อศอก บางกรณ๊ตุ่มก็อาจแตกกลายเป็นแผลเรื้อรัง ทำให้รักษายากขึ้น
- ผู้ที่ยังไม่มีอาการข้ออักเสบ แต่มีกรดยูริกในกระแสเลือดสูง จะตกตะกอนจนกลายเป็นโรคเก๊าท์ได้ในเวลา 10 -12 ปี
โรคแทรกซ้อนเมื่อเป็นโรคเก๊าท์ หากเป็นโรคเก๊าท์เป็นระยะเวลานานอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆตามมา เช่น
- โรคนิ่วที่ไต เพราะกรดยูริก สามารถไปตกตะกอนในไตได้
- โรคไตเสื่อม
- เบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- หลอดเลือดหัวใจ
- หลอดเลือดสมอง
การรักษา
หากข้ออักเสบเสียบพลัน จะรักษษอาการข้ออักเสบให้หายก่อน
ตรวจเลือด หากกรดยูริกในเลือดสูง จะต้องทานยาลดกรดยูริก เพื่อไม่ให้โรคเก๊าท์กำเริบ
ตรวจหาภาวะแทรกซ้อนในไต หากไตเริ่มเสื่อม การทานยาลดกรดยูริก ก็จะสามารถทำให้ไตกลับมาเป็นปกติได้
ต้องกินยาควบคุมระดับกรดยูริกในร่างกายให้ปกติ จนกว่าก้อนที่บวมจะหาย ซึ่งใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี เป็นอย่างต่ำ
ป้องกันและดูแลอย่างไรเมื่อเป็นโรคเก๊าท์
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ เพราะเบียร์เป็นสารตั้งต้นของสารพิวรีนในร่างกาย และแอลกอฮอล์ เป็นตัวที่ทำให้ประสิทธิภาพในการขับกรดยูริคลดลง หากคิดว่าดื่มเยอะแล้วดื่มน้ำขับกรดยูริกออก ก็ไม่สามารถช่วยได้ เพราะการขับกรดมันไม่มีประสิทธิภาพ
ลด ละ เลิก อาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก เนื้อสัตว์ในปริมาณมาก(บุฟเฟ่ต์หมูเกาหลี) อาหารทะเล ยอดผัก (ชะอม,กฐิน) หน่อไม้ ผักโขม เป็นต้น ในแต่ละคนจะปีปฏิกิริยาต่ออาหารแต่ละอย่างแตกต่างกัน ผู้ป่วยควรจะสังเกตุตัวเองว่าโรคเก๊าท์กำเริบกับอาหารอะไรบ้าง
ดื่มน้ำมากๆ เพราะกรดยูริกมีการตกตะกอนที่ไต และไตมีหน้าที่ขับปัสสาวะ หากดื่มน้ำมาก ก็สามารถขับกรดยูริกออกมาได้มากขึ้น ตรงกันข้าม หากดื่มน้ำน้อย ก็จะมีการตกตะกอนในไตมาก ทำให้เป็นนิ่วที่ไตนั่นเอง
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ 3 ครั้ง เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย
ระมัดระวังไม่ให้เกิดโรคอ้วน ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ควรลดน้ำหนัก เพราะกรดยูริกก็จะลดลงตามด้วย
อย่าลืมดูแลสุขภาพของตัวเอง ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้มากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคต่างๆได้มากเลยนะคะ