แก้อาการท้องผูกทำไงดี

แก้อาการท้องผูกทำไงดี?

อาการท้องผูก (Constipation) ถือเป็นความผิดปกติของทางเดินอาหารอย่างหนึ่ง มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันผู้ที่มีอาการท้องผูกมีอยู่ในทุกเพศ ทุกวัย ลักษณะของอาการคือ มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ หรือมีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 24 ของประชากรไทย หรือ 5 คน ใน 20 คน จะมีอาการท้องผูก

 

อาการของท้องผูกเรื้อรังที่รุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ 2 ใน 6 ข้อ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 สัปดาห์ (ไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องกัน ) โดยต้องไม่เป็นผู้มีภาวะลำไส้แปรปรวน และไม่ใช้ยาระบาย

  1. ต้องเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติ อย่างน้อย 1 ใน 4 ของการถ่ายอุจจาระ
  2. อุจจาระมีลักษณะก้อนแข็งมากกว่าปกติ อย่างน้อย 1 ใน 4 ของการถ่ายอุจจาระ
  3. รู้สึกถ่ายไม่สุด อย่างน้อย 1 ใน 4 ของการถ่ายอุจจาระ
  4. รู้สึกมีการอุดตันที่ทวารหนัก อย่างน้อย 1 ใน 4 ของการถ่ายอุจจาระ
  5. ต้องใช้มือช่วยในการถ่ายอุจจาระ อย่างน้อย 1 ใน 4 ของการถ่ายอุจจาระ

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก

  1. ทานอาหารที่มีกากใยน้อย ทำให้ไม่สามารถกระตุ้นลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่ทำให้เกิดการขับถ่ายได้
  2. ดื่มน้ำน้อย เมื่อร่างกายมีน้ำไม่พอใช้ก็จะดูดน้ำจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารนั้นแข็งขึ้นจึงทำให้ถ่ายออกยาก
  3. ขับถ่ายไม่เป็นเวลา 
  4. กลั้นอุจจาระบ่อย
  5. ทานยาบางอย่าง เช่น ยาบำรุงเลือด ยาต้านความเศร้า ยาแก้ไอ ยาแก้ปวด ยาลดกรด บางชนิด
  6. เป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น ระยะเวลาถ่ายห่างนานขึ้น , ก้อนอุจจาระมีขนาดเล็กลง
  7. มีโรคประจำตัว หรือโรคทางกายบางอย่าง เช่น 
  • ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน การบีบตัวของลำไส้จะทำงานไม่ค่อยดี
  • โรคไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
  • โรคทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน
  • มีความผิดปกติที่ไขสันหลัง เช่นมีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง

 

ผลกระทบที่เกิดจากการท้องผูก

ในช่วงเวลา 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลำไส้ใหญ่กำลังทำงาน หากไม่ได้ขับถ่ายในช่วงเวลานั้น แล้วช่วงเวลา 07.00 – 09.00 น. ก็ยังไม่ได้ทานอาหารเช้าอีก อุจจาระจากลำไส้ใหญ่ที่ไม่ได้ขับถ่ายออก จะถูกบีบตัวขึ้นมาที่กระเพาะอาหาร และดูดซึมซ้ำอีกครั้ง โดยในอุจจาระซึ่งมีแก๊สพิษก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เลือดไม่สะอาดไหลไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ ปอด ม้าม ตับ ผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดอาการเหล่านี้

  • ก่อนเที่ยงถึงบ่าย จะง่วงนอน เพราะเลือดไม่สะอาดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้หัวใจอ่อนล้าไม่สดใส
  • มีกลิ่นตัว กลิ่นปาก เพราะเลือดไม่สะอาดไปเลี้ยงปอด ซึ่งปอดขับออกทางผิวหนัง และลมหายใจ
  • หากปล่อยให้เลือดที่ไม่สะอาดไปเลี้ยงสมองเป็นเวลาหลายปี ความจำก็จะเสื่อมเร็ว
  • มีอาการปวดเข่า เป็นริดสีดวงทวาร

 

วิธีแก้อาการท้องผูก

  1. ขับถ่ายให้เป็นเวลา อย่ากลั้นอุจจาระบ่อย
  2. ทานอาหารเช้าทุกวัน
  3. ทานอาหารที่มีกากใยให้มากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ผู้สูงอายุที่ฟันไม่ดีควรเลือกทานผักที่นิ่ม เช่น ตำลึง ถั่วงอก ไชเท้า ฟัก และนำมาปรุงให้นิ่มด้วย
  4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ เฉลี่ยวันละ 6 – 8 แก้วต่อวัน
  5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุอาจใช้การเดินซึ่งก็เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง
  6. หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังมีปัญหาท้องผูกอยู่ อาจต้องพบแพทย์ และใช้ยาช่วย เช่น ยาที่เพิ่มน้ำทำให้อุจจาระนิ่ม ยาหล่อลื่นลำไส้ ยาเหล่านี้ไม่มีผลในระยะยาว แต่หากเป็นยาแรงอย่าง ยาเพิ่มการบีบตัวในลำไส้ ก็ไม่ควรที่จะใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

 

ผู้ที่มีปัญหาท้องผูก 1 ใน 3 คน ถึงครึ่งหนึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้เอง แต่ละเลย เนื่องจากเห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่ฉุกเฉินและรุนแรง หรือเห็นว่ารักษาอย่างไรก็คงไม่หายขาด ซึ่งหากปล่อยให้เรื้อรังเป็นเวลานาน อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตได้ แต่หากใครที่มีอาการท้องผูกสลับท้องเสียบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่นได้ ไม่ควรจะนิ่งนอนใจนะคะ

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments