10 วิธี ป้องกันข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร

Credit Photo : mejorconsalud.com

Credit Photo : mejorconsalud.com

 

โรคข้อเข่าเสื่อม ( Osteoarthritis ) สิ่งที่มาพร้อมกับวัยที่สูงขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่พบมากในผู้สูงอายุ จะลุกก็โอยจะนั่งก็โอย ทำให้ความสุขในการดำรงชีวิตนั้นลดน้อยลง

 

อาการของข้อเข่าเสื่อม

จะเริ่มตั้งแต่อายุ 30-45 ปีขึ้นไป และจะมีความรุนแรงมากขึ้น และพบบ่อยคือเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีอาการปวดตามข้อเข่าหรือเดินขัดๆในข้อ

 

สาเหตุทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม

– น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ข้อรับน้ำหนักมากเกินไป

– กรรมพันธุ์หรือพันธุกรรม

– กิจกรรมที่มีการใช้งานข้อเข่าหรือการทำงานหนัก หรือการใช้งานเข่าผิดวิธี เช่น นั่งเก้าอี้เตี้ยๆ นั่งยองๆ ยกของหนัก เป็นต้น

– ยืน เดิน ไกลๆ เป็นเวลานาน

– เป็นโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เป็นต้น

– จากการประสบอุบัติเหตุ หรือมีการบาดเจ็บมาก่อนทำให้ผิวข้อเข่า

– การติดเชื้อ โดยในวัยเด็กมักจะมีการติดเชื้อที่กระดูกซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมเมื่อโตขึ้น

– การรับประทานยาสเตียรอยด์ (Steroid) เป็นเวลานานๆ ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกบาง

 

อาการของภาวะข้อเข่าเสื่อม

– มีอาการปวดที่เป็นๆหายหรือปวดแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่การปวดแบบเฉียบพลัน เนื่องจากการปวดแบบเฉียบพลันเป็นอาการปวดของข้ออักเสบชนิดอื่น เช่น โรคเก๊าท์

– เจ็บใต้ลูกสะบ้า หรือแนวระนาบข้อเข่า

– เข่าบวม หรือบวมๆหายๆ  มีอาการปวดและตึงบริเวณหลังเข่าหรืออาจรู้สึกเมื่อไปที่ปลีน่อง (ปลีน่อง คือกล้ามเนื้อด้านหลังหน้าแข้ง)

– เดินแล้วรู้สึกขัดๆ ที่เข่า ทำให้เดินได้น้อยลง

– เมื่อนั่งนานๆ แล้วลุกขึ้นเดินรู้สึกก้าวเท้าไม่ออก ต้องรอสักพักถึงจะก้าวเดินได้ปกติ อาการนี้เรียกว่า start-up pain

– เดินไม่มั่นคง หรือรู้สึกเข่าหลวมๆ

หากใครมีอาการดังกล่าวนี้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเอ็กซเรย์และรับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้การรักษานั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการรอให้เป็นมากๆ

 

10 วิธี ป้องกันปัญหาข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร

1. หลีกเลี่ยงการนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า เป็นเวลานานๆ

2. ถนอมเข่าโดย ขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

3. ไม่เดินมากเกินไปเป็นระยะเวลานานๆโดยไม่พัก

4. ใช้ที่สวมเข่า (Knee Support) โดยทุก 2 ชั่วโมงให้คลายออกประมาณ 10 นาที ในกรณีที่เริ่มรู้สึกว่าเดินไม่มั่นคงและยังไม่ได้รับการผ่าตัด

5. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึงกิจกรรมต่างๆ เช่นการเดิน ข้อเข่าจะรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของน้ำหนักตัว การวิ่งข้อเข่าจะรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น 5 เท่าของน้ำหนักตัว เป็นต้น ฉะนั้นการที่มีน้ำหนักตัวมากการยืน เดิน วิ่ง ก็จะทำให้ข้อเข่าใช้งานหนักมากขึ้น

6. การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเข่าเพื่อชะลอการเกิดข้อเข่าเสื่อมและช่วยพยุงกล้ามเนื้อเข่าและกระดูก

7. รับประทานยาบำรุงไขข้ออและรับประทานยาแก้ปวดให้น้อยที่สุด

8. การรับประทานอาหารที่มีส่วนในการช่วยบำรุงกระดูกได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โบรอน แมงกานีส วิตามินดี

9. หลีกเลี่ยงการรับประทานกาแฟมากเกินไป เนื่องจากในกาแฟมีสารคาเฟอีนที่ทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะทำให้กระดูกเปราะบาง

10. งดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม โดยผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกหักและกระดูกพรุนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม 3-4 เท่า

 

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments