หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc) ที่พบบ่อย คือ บริเวณคอ และเอว โดยเฉพาะบริเวณเอวที่มักจะพบในวัยทำงานและผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมักจะพบปัญหาเรื่องของกระดูกพรุน กระดูกบาง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะกระดูกหักทับเส้นประสาทได้ ดังนั้นผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปหรือสตรีวัยหมดประจำเดือนควรเข้ารับการตรวจมวลกระดูก เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนที่อาจทำให้เกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แบ่งอาการออกเป็นสามส่วนตามแนวกระดูกสันหลัง ดังนี้
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณคอ
– มีอาการปวดคอร้าวลงไปที่แขนข้างที่เส้นประสาทถูกกด หรือมีอาการชาที่แขนร่วมด้วย
– มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่แขน มือ ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน
– ปวดบ่า สะบัก ไหล่ โดยไม่ทราบสาเหตุ และอาการปวดหายไปเอง
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณเอว
– มีอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือบริเวณเอว แต่แตกต่างจากอาการปวดหลังทั่วไปคือ อาการปวดมีความรุนแรงกว่าปวดเอวทั่วไป
– เมื่อยกของหนักแล้วเกิดอาการปวดทันทีทันใด มีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาด้านหลังตั้งแต่สะโพกลงไป ข้อพับ น่อง เท้า และ
ฝ่าเท้า ซึ่งอาการแบบนี้เป็นอาการเด่นที่จะแสดงออกมาเมื่อเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้น
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณไขสันหลัง
– กล้ามเนื้อแขน ขา อ่อนแรง
– เสียการทรงตัว
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่ไขสันหลังเป็นอาการที่มีความรุนแรง เมื่อพบว่ามีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการ
รักษาอย่างเร่งด่วน
สาเหตุของการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
– เกิดจากหมอนรองกระดูกเกิดความผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
– กล้ามเนื้อหดเกร็งตลอดเวลา เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป เกิดจากการนั่งนานมักพบในวัยทำงาน
– กล้ามเนื้ออักเสบ ทำให้เนื้อที่อยู่ด้านในของหมอนรองกระดูกทะลักออกมาทับเส้นประสาท
– ใช้กระดูกสันหลังไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ก้มเป็นเวลานานๆ นั่งหลังค่อม นั่งทำงานเป็นเวลานานๆ เป็นต้น
– ยกของหนักเกินไปหรือยกของหนักผิดวิธี
– หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพจากอายุที่มากขึ้น
– เกิดอุบัติเหตุทำให้หมอนรองกระดูกแตก
การป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
– ใช้กระดูกสันหลังให้ถูกวิธี โดยการทำให้กระดูกสันหลังตรงอยู่ตลอดเวลาหรือมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น การยืน เดิน หรือนั่ง
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการอักเสบของกล้ามเนื้อ
– ไม่ยกของหนักเกินกำลัง
การรักษา
ปัจจุบันการผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผ่าตัดทำให้ไม่ต้องเปิดแผลขนาดใหญ่ การ
ผ่าตัดจะใช้กล้องเอ็นโดสโคป ซึ่งเป็นกล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็กช่วยในการผ่าตัด ทำให้แผลมีความกว้างเพียง 8 มิลลิเมตรเท่านั้น
ข้อดีของการผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคป
นอกจากแผลจะมีขนาดเล็กแล้ว ข้อดีของการผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคปคือ อัตราเสี่ยงของการติดเชื้อน้อยลงมา ประหยัดค่าใช้
จ่ายในการผ่าตัด ลดความเสี่ยงต่อภาวะเสียเลือด ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อยลง สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติเร็วขึ้น
การออกกำลังกายสำหรับผู้เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
เครื่องยืดกระดูก กับการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท