ภาวะของหัวใจเต้นผิดจังหวะส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตราย แต่บางคนอาจจะร้ายแรงหรือแม้กระทั่งอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตกะทันหัน ในช่วงจังหวะหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงส่วนอื่นๆ ของร่างกายเพียงพอ ทำให้สมองและหัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นอย่างไร?
อัตราการเต้นปกติของหัวใจจะเต้น 60- 100 ครั้ง ต่อนาที การเต้นของหัวใจที่เร็วเกินไป (TAK-IH-KAR-de-ah) คือมากกว่า 100
ครั้ง/ นาที และการเต้นของหัวใจที่ช้าเกินไป (Bray-de-KAR-de-ah) คือน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที
สาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ปัจจัยภายใน
– เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดจากสาเหตุนี้ มักจะพบในภาคอีสาน หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า”ไหลตาย” นั่นเอง
– เกิดคลื่นไฟฟ้าลัดวงจรของหัวใจ
– เกิดจากการเสื่อมที่จุดกำเนิดในการผลิดแบตเตอรี่หัวใจ มักพบในผู้สูงอายุ
– พบร่วมกับโรคหัวใจบางโรค เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจตีบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ปัจจัยภายนอก
– ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
– อาการตื่นเต้น ตกใจ ทำให้หัวใจหลั่งสารบางอย่างมากระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เต้นผิดจังหวะ
– ความเครียด การออกกำลังกายมากเกินไป
– ดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากเกินไป หรือแม้กระทั่งการเสพยาเสพติด
– โรคความดันโลหิตสูง มักเกิดในช่วงอายุ 60-70 ปี
– โรคเบาหวาน
– มลพิษทางอากาศ
อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
– วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น เป็นลมหมดสติ
– อาการเจ็บหน้าอก
– ภาวะหายใจสั้น
– การเต้นของหัวใจช้า
– อาการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
– อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง
– อาการหัวใจเต้นเร็วแบบเฉียบพลัน หัวใจเต้นรัว เกิดอาการวูบหมดสติและเสียชีวิตโดยเฉียบพลัน เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกไปได้
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นแบบสั่นพลิ้ว(Atrial Fibrillation) เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูง
อายุ โดยเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยง 0.5 % แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่อายุ 80 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงจะเพิ่ม
เป็น 5-10 %ซึ่งมีโอกาสที่จะมีเลือดคั่งในหัวใจ กลายเป็นลิ่มเลือดหากหลุดเข้าไปในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง
สมอง จะทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตผู้สูงอายุเป็นวัยที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของ
สุขภาพเป็นพิเศษหากสังเกตุว่าผู้สูงอายุภายในบ้านมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรพาไปตรวจสุขภาพเพื่อ
ป้องกันโรคร้าย และอันตรายที่จะเกิดขึ้น