อาการปวดก้นกบเกิดจากอะไร?

 

กระดูกก้นกบ คือกระดูกส่วนล่างสุดของกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้ายหางของกระดูก
เรียกว่า “กระดูกก้นกบ”  ประกอบไปด้วยกระดูกเล็กๆสามชิ้นหรือมากกว่ารวมกันเป็นกระดูก
ก้นกบจะอยู่บริเวณร่องก้นเล็กน้อย อาการปวดก้นกบเป็นอาการที่พบได้ยาก และมักพบใน
เพศหญิง
มากกว่าเพศชาย และมักเกิดจากการคลอดบุตร การประสบอุบัติเหตุ การติดเชื้อหรือ
เนื้องอก
ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดก้นกบได้เช่นกัน

 

กระดูกสันหลังของคนเราประกอบด้วย กระดูกสันหลังส่วนคอ กระดูกสันหลังบริเวณทรวงอก (บริเวณแผ่นหลังส่วนบน

ถึงส่วนกลางหลัง) กระดูกสันหลังบริเวณเอว กระดูกกระเบนเหน็บ หรือกระดูกส่วนก้น และกระดูกก้นกบ

 

ปวดก้นกบ

 

 

อาการปวดก้นกบ

– มีอาการเจ็บปวดรุนแรงขึ้นเมื่อนั่งลง

– มีอาการเจ็บปวดมากขึ้นเมื่อถูกสัมผัส หรือถูกกดทับที่บริเวณกระดูกก้นกบ

– เมื่อเปลี่ยนจากการนั่งเป็นเป็นท่ายืน มีอาการเจ็บที่กระดูกก้นกบมากขึ้น

– อาการปวด หรือเจ็บกระดูกก้นกบมากขึ้นเมื่อมีอาการท้องผูก และรู้สึกดีขึ้นหลังจากมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ 

หรือมีการถ่ายอุจจาระออกไป

 

สาเหตุของอาการปวดก้นกบ

– เกิดจากอุบัติเหตุ เช่นการเล่นกีฬา การตกจากที่สูงโดยก้นถูกกระแทกพื้นอย่างแรง

– อาการปวดสะโพกเนื่องจากการติดเชื้อ รวมถึงโรคงูสวัดบริเวณก้นหรือบั้นท้ายด้วย

– ฝีบริเวณร่องก้น (pilonidal cysts)

– ข้อต่อกระดูกเชิงกรานอักเสบ (sacroiliitis) และกระดูกหัก

– กระดูกก้นกบหักหรือร้าว

– มีเนื้องอกหรือกระดูกก้นกบอักเสบหรือมีอาการแทรกซ้อนทำให้กระดูกสันหลังติดเชื้อเป็นหนอง เป็นสาเหตุที่ไม่ค่อย

พบมากนัก

– ความดัน เกิดจากกิจกรรมบางอย่างที่สร้างแรงกดดันไปที่บริเวณก้นกบเป็นเวลานานๆ เช่น การขี่ม้า การนั่งบนพื้นแข็งๆ

เป็นเวลานานๆ ซึ่งหากเกิดจากสาเหตุเหล่านี้อาการปวดก้นกบสามารถหายเองได้โดยการหยุดหรือพักกิจกรรมดังกล่าว

รวมถึงการใช้ยาแก้ปวด แต่หากเกิดการอักเสบที่กระดูกก้นกบอาจกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังได้

 

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่มีอาการปวดก้นกบ

– ควรเลือกที่นั่งที่มีเบาะรอง

– หลีกเลี่ยงการนั่งเป็นเวลานานๆ

– หากอาการปวดก้นกบมีความรุนแรงมากควรเข้ารักการตรวจรักษาเพื่อหาสาเหตุของอาการปวดโดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก

มีรอยช้ำและมีผื่นขึ้นบริเวณก้นกบ

 

การป้องกันการได้รับบาดเจ็บกระดูกก้นกบ

ควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการถูกกระแทกบริเวณก้น หรือการตกจากที่สูงเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูก

เชิงกรานรวมถึงกระดูกก้นกบหักหรือร้าวหรือการกดทับของกระดูกก้นกบมากเกิดไปซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดก้นกบ

 

 

ขอบคุณ่รูปภาพจาก www.flickr.com

 

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments