อาการโรคมะเร็งตับตั้งแต่ระยะแรกถึงระยะสุดท้าย

 

อาการโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย

ตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5 กิโลกรัม หรือ 2% ของ
น้ำหนักตัว  โดยจะแบ่งเป็น 2 กลีบ คือกลีบซ้ายและกลีบขวา ทำหน้าที่สร้างสารอาหาร และ
กำจัดของเสียไปพร้อมกัน

สาเหตุของมะเร็งตับ

– เกิดจากไวรัสตับอักเสบ B,C

– การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

– ไขมันเกาะตับเรื้อรังจนทำให้เกิดตับแข็งและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ

– รับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็งเป็นประจำ เช่น อาหารปิ้ง ย่าง ถั่วป่น หรือธัญพืชชนิดอื่นๆ ที่มีเชื้อรา Aflatoxin

 

โรคมะเร็งตับ มี 4 ระยะคือ

1. มะเร็งตับระยะแรก  มีเนื้องอก และมะเร็งเพียงก้อนเดียว ยังไม่ได้แพร่กระจายไปยังเส้นเลือด และต่อมน้ำเหลือง

หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย มักจะไม่มีอาการหรือสัญญาณที่ทำให้ผู้ป่วยรู้ตัวมาก่อน เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่มาก

หากก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก หรือน้อยกว่า 5 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการ หรือก้อนมะเร็งไม่มีการกด เบียด

ที่ทำให้เกิดการอุดตันในท่อน้ำดีจะไม่มีอาการแสดงออกมาเลย

 

2. มะเร็งตับระยะที่สอง  ในระยะนี้มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายไปยังต่อน้ำเหลือง หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

สามารถเป็นได้ทั้งก้อนมะเร็งเพียงก้อนเดียวที่เติบโตขึ้นที่เส้นเลือของตับ หรืออาจเป็นก้อนมะเร็งหลายจุด แต่มีขนาด

น้อยกว่า 5 เซนติเมตรแต่ยังไม่ได้พัฒนาไปที่เส้นเลือด

 

3. มะเร็งตับระยะที่สาม ในระยะนี้จะแบ่ง 3 ระยะ

1. มีเนื้องอกมากกว่า 1 ก้อนและมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตรอย่างน้อย 1 ก้อน ในระยะนี้นี้โรคมะเร็งยังไม่ได้

แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

2.โรคมะเร็งได้เติบโตขึ้นเป็นหนึ่งในเส้นเลือดหลักของตับ(หลอดเลือดดำในตับ) แต่เซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจาย

เข้าไปในต่อมน้ำเหลืองหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

3. มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้กับตับ (ไม่รวมถุงน้ำดี) หรือผ่านทางเยื่อบุที่ห่อหุ้มอวัยวะภายในช่องท้อง

(เยื่อบุช่องท้องอวัยวะภายใน) และยังไม่ได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

 

4. มะเร็งตับระยะสุดท้าย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1. มะเร็งทุกก้อนไม่ว่าจะขนาดใดก็ตามซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งก้อน อาจเติบโตขึ้นในเส้นเลือด หรืออวัยวะรอบๆตับ

มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแต่ไม่ได้ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

2. มะเร็งมีการเจริบโตขึ้นในเส้นเสือด และอวัยวะรอบตับ อาจไม่แพร่อกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แต่มีการแพร่

กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายเช่น กระดูก

 

อาการของโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย

เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

– คลำเจอก้อนที่บริเวณตับ

– ท้องบวมโตขึ้น เนื่องจากมีน้ำ และมีก้อนในท้อง

– ตัวเหลือง ตาเหลือง

– จุกเสียดแน่นท้อง

– ปวดท้องตลอดเวลา

– อาการของผู้ป่วยทรุดลงอย่างรวดเร็ว

– อ่อนเพลีย

 

อาการของผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายเมื่อการทำงานของตับล้มเหลว

– อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง

– อาการง่วงซึม หาว หรืออาการมึนงง หรือมีอาการเพ้อ

– เกิดความสับสน กระสับกระส่าย

– มีอาการพูดไม่ต่อเนื่องกัน

– อาการโคม่า

– อาการสั่นกระพือของมือ เคลื่อนไหวมือลำบาก

 

อาหารผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายมีความเสี่ยงในการขาดสารอาหาร เพราะการเผาผลาญในร่างกายเปลี่ยนแปลงมีการย่อย

และดูดซึมสารอาหารที่ผิดปกติ การขาดสารอาหารจะทำให้ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายมีความเสี่ยงของการเสียชีวิต

มากขึ้น  ดังนั้นการดูแลโภชนาการของผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายจึงมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง

 

กรดอะมิโน แบบโซ่กิ่ง (Branched-chain amino acids) เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับระยะ

สุดท้าย เพราะจะช่วยฟื้นฟูมวลร่างกาย มีส่วนสำคัญในการสร้างมวลกล้ามเนื้อที่สูญเสียไปจากการเผาผลาญอาหาร

ที่ผิดปกติ และอาจช่วยกระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูตับ อาหารที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนแบบโซ่กิ่ง ได้แก่ นม ไข่ปลา

และเวย์โปรตีน

 

วิตามินและเกลือแร่  ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายมีความเสี่ยงในการขาดตามินและแร่ธาตุ ได้แก่ วิตามิน A,B,C และE 

สังกะสี แมกนีเซียม โฟเลต เหล็ก แต่การจัดการปริมาณอาหารที่มิวิตามิน และแร่ธาตุเหล่านี้ควรได้รับการประเมินปริมาณ

วิตามิน และแร่ธาตุที่ผู้ป่วยควรได้รับจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน

 

การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

1. การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาค่าสารก่อมะเร็ง (Alfa-fetoprotein) ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับสูง

2. การตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อหาก้อนเนื้อบริเวณตับ หรือมีตับแข็งหรือไม่

หากเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เป็นไวรัสตับอักเสบที่มีพฤติกรรมดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ควรมีการตรวจคัดกรองตามมาตรฐาน

คือ ทุกๆ 6 เดือนไปตลอดชีวิต

 

กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งตับ

– เป็นผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ที่ไม่ได้เป็นพาหะหรือผู้ก่อโรค

– มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

– เป็นโรคตับแข็ง หรือไขมันพอกตับทำให้ตับแข็ง ควรมีการเฝ้าระวังโดยการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน

ทุก 6 เดือน ตลอดชีวิต

 

การป้องกันโรคมะเร็งตับ

– ในกรณีที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต้องฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

– งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

– หลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง อาหารที่ไหม้เกรียม หรือรมควัน เพราะมีสารก่อมะเร็ง รวมถึงธัญพืชมีความชื้น

– รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสุขลักษณะ

– ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อรักษาภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอยู่เสมอ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก
Bangkok Hospital

 

 

More from my site

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments