โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลเรื่องของโภชนาการ และอาหารเป็นอย่างมากเพราะสาเหตุส่วนหนึ่งของโรค คือเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิด ดังนั้นการดูแลเรื่องเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้โรคไม่ทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงทำให้สุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานนั้นดีขึ้นไม่เกิดโรคอื่นๆ แทรกซ้อนตามมาได้
- เมนูประเภทคาร์โบไฮเดรต : ขนมปัง ธัญพืชและแป้งอื่นๆ
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ควรรับประทาน
– แป้งธัญพืชไม่ขัดสีเช่นแป้งข้าวสาลี
– เมล็ดธัญพืชเช่นข้าวกล้อง
– ธัญพืชไม่ขัดสี และมีส่วนผสมของน้ำตาลเพิ่มเล็ก ๆ น้อย ๆ
– ขนมปังธัญพืชไม่ขัดสี
– แป้งธัญพืชไม่ขัดสี หรือข้าวโพด
– ข้าวโพดคั่ว หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวโพด
– มันฝรั่งอบ
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ควรหลีกเลี่ยง
– แป้งขาว
– ธัญพืชที่มีการแปรรูปแล้ว เช่น ข้าวขาว
– ธัญพืชที่มีเมล็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ และมีน้ำตาลจำนวนมาก
– ขนมปังขาว
– มันฝรั่งทอด
เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ประเภทผัก : ผักส่วนใหญ่มีเส้นใย เป็นอาหารที่มีไขมัน และโซเดียมต่ำ แต่ไม่รวม
ถึงผักในกระป๋องหรือผักที่อยู่ในซอสต่างๆ
ผักที่ควรรับประทาน
– ผักสด หรือผักที่ผ่านความร้อนไม่มากนักเช่น ผักนึ่ง อบ
– ผักคะน้า และผักใบเขียวอื่นๆ โดยเฉพาะผักคะน้าซึ่งจะมีสารที่เรียกว่า Glucosinolates ที่จะทำให้เอ็นไซม์ในตับสามารถทำงาน
ได้ดี ซึ่งช่วยต่อต้านสารก่อมะเร็งได้ นอกจากนี้ผักคะน้ายังเป็นเมนูรสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ดีเยี่ยม เพราะผักคะน้ามีส่วนช่วยลด
ความดันโลหิตสูงได้ด้วย
ผักที่ควรหลีกเลี่ยง
– ผักกระป๋องที่มีโซเดียมในปริมาณมาก
– ผักที่ปรุงสุกเกินไปและมีการเพิ่มเนย ชีส หรือซอสเข้าไป
– ผักดองต่าง เช่น กะหล่ำปลีดอง เป็นต้น
เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ประเภทผลไม้ : ผลไม้มีคาร์โบไฮเดรตวิตามินเกลือแร่ และเส้นใย มีไขมันและ
โซเดียมต่ำ แต่ผลไม้บางชนิดมีคาร์โบไฮเดรตมากกว่าผัก และมีน้ำตาลสูง
ผลไม้ที่ควรเลือกรับประทาน
– ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ เป็นต้น
– ผลไม้สด แต่ผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลมากหรือมีรสหวานจัดควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานในปริมาณน้อยที่สุด
ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง
– ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น สัปปะรด ทุเรียน ลำไย ละมุด เงาะ เป็นต้น
– ผลไม้กระป๋องที่มีน้ำเชื่อมหวานจัด
– ผลไม้กวนทุกชนิด
– น้ำผลไม้
เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ประเภทเนื้อสัตว์และโปรตีนอื่น ๆ : อาหารในกลุ่มนี้รวมถึง เนื้อวัว เนื้อไก่ ปลา
อาหารทะเล ถั่ว ชีส ไข่ และเต้าหู้
เนื้อสัตว์และแหล่งโปรตีนที่ควรรับประทาน
– ปลาทูน่า และปลาแซลมอน โดยเฉพาะแซลมอน ซึ่งเป็นแหล่งอุดมไปด้วยกรดไขมัน โอเมก้า 3 ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
ลดการอักเสบและเพิ่มความต้านทานต่ออินซูลิน
– เนื้อสัตว์ควรเลือกส่วนที่ไม่ติดมันมาปรุงอาหาร เช่นเนื้อสันใน หรือหากเลือกหมูชั้นนอกควรทำการตัดมันออกก่อนปรุงอาหาร
– เนื้อไก่ควรเลือกรับประทานอกไก่ เพราะมีไขมันน้อยมาก
เนื้อสัตว์และแหล่งโปรตีนที่ควรหลีกเลี่ยง
– เนื้อทอด
– เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เบคอนหมู ไส้กรอก แฮม
– หนังไก่
– เต้าหู้ทอด
– ถั่วทอด
ผลิตภัณฑ์นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
– นมพร่องมันเนย
– โยเกิร์ตไขมันต่ำ
– นมถั่วเหลือง
– น้ำนมข้าว
ผลิตภัณฑ์นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควรหลีกเลี่ยง
– นมสด
– โยเกิร์ตที่ไม่ใช่รสธรรมชาติหรือไขมันต่ำ
เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่แนะนำ
– น้ำพริกต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาทู น้ำพริกแมงดา น้ำพริกหนุ่ม เป็นต้น
– อาหารประเภทแกง เช่น แกงเลียงรวมมิตร แกงเลียงกุ้งสด แกงเห็ด แกงส้มดอกแค แกงแค
– อาหารประเภทต้ม เช่น ต้มจืดตำลึง ต้มยำปลาชนิดต่างๆ
– อาหารประเภทผัด เช่น ไก่ผัดขิง ผัดถั่วงอกใส่เต้าหู้
– อาหารประเภทยำ เช่น ยำถั่วพู ยำมะเขือเผา ยำคะน้ากุ้งสด