การรักษาบาดแผลโรคเบาหวาน เกี่ยวกับเท้า และขา ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดบาดแผลมากที่สุด เพราะมีการใช้งานมากที่สุดในชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานบาดแผลที่เกิดขึ้นจะหายช้ากว่าคนทั่วไป หากไม่ดูแลรักษาอย่างดีแผลอาจลุกลาม และอาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียงได้
การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อได้
– ดูแลบาดแผลทันที แม้จะเป็นแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถจะติดเชื้อแบคทีเรียได้
– ทำความสะอาดแผล ล้างแผลด้วยน้ำที่กำลังไหลเพื่อขจัดสิ่งสกปรก ห้ามใช้ สบู่ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือสาร
ไอโอดีน ซึ่งสามารถทำให้แผลที่เกิดจากการบาดเจ็บระคายเคือง จากนั้นให้ใช้ครีมยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
บาดแผล และปิดด้วยผ้าพันแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อให้เรียบร้อย ทำการเปลี่ยนผ้าพันแผลทุกวัน และใช้สบู่ทำความ
สะอาดผิวรอบแผล และจะต้องตรวจสอบบาดแผลทุกวันเพื่อสังเกต หรือมองหาสัญญาณใดๆ ของการติดเชื้อ
– เข้าพบแพทย์ หากไม่แน่ใจว่าบาดแผลมีการติดเชื้อหรือไม่ ให้เข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจสอบแผลหรือผิวหนังที่มีรอยแดง
ก่อนที่จะมีความรุนแรงมาก
การป้องกันการเกิดบาดแผล
– ตรวจดูเท้าทุกวัน มองหาแผลพุพอง หรือตุ่มน้ำ ตาปลา รอยถลอก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแผลที่เท้าของโรคเบาหวาน
– เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวที่เท้าให้มีความอ่อนนุ่มมากขึ้น แต่ไม่ใช้โลชั่นบำรุงผิวที่ระว่างนิ้วเพราะสามารถนำไปสู่การติดเชื้อ
ของเชื้อราได้
– การรักษาโรคน้ำกัดเท้า(Athlete’s foot) ควรใช้เจลมากกว่ายาฆ่าเชื้อราที่เป็นครีม เพราะไม่ทิ้งสารตกค้าง หรือความชื้น
ระหว่างนิ้วเท้า
– เลือกสวมรองเท้าที่ปิดนิ้วเท้า จะช่วยให้หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่เท้าได้
– ตรวจสอบรองเท้าก่อนสวมใส่ทุกวัน คนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคระบบประสาท หากมีหิน กรวดอยู่ในรองเท้า ทำให้เกิด
การกดทับเมื่อเดินไปรอบๆ จะไม่รู้สึกทำให้เกิดบาดแผลโดยไม่รู้ตัว
– เลือกถุงเท้าที่เหมาะสม ควรเลือกใช้ถุงเท้าที่ทำขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
– ตัดเล็บเป็นประจำ การเกิดเล็บขบ สามารถนำไปสู่ปัญหาเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้