โรคไตวายเรื้อรังหรือโรคไตเรื้อรัง (Chronic renal failure) เป็นโรคที่ไตมีการสูญเสียการทำงาน
อย่างค่อยเป็นค่อยไป ในระยะแรกอาจมีสัญญาณ หรืออาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาจ และจะ
เริ่มแสดงอาการต่อเมื่อการทำงานของไตทำงานบกพร่อง ไตจะเริ่มสูญเสียตัวกรองของเสียที่อยู่
ในเลือดซึ่งถูกขับออกมาทางปัสสาวะ และเมื่อโรคไตเรื้อรังมาถึงระยะสุดท้ายจะทำให้มีของเสียมากมายสะสมอยู่ในร่างกาย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่มีการรักษาอย่างทันท่วงที
สัญญาณ และอาการโรคไตวายเรื้อรัง
– มีอาการคลื่นไส้ พะอืดพะอม อาเจียน เบื่ออาหาร
– อาการเมื่อยล้า และอ่อนเพลีย
– มีปัญหาในการนอนหลับ
– มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำปัสสาวะที่ถ่ายออกมา
– มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก และมีอาการปวด
– อาการสะอึก
– อาการบวมของเท้า และข้อเท้า
– มีอาการคันเรื้อรัง
– มีอาการเจ็บหน้าอก หากของเหลว(ของเสียทีไตไม่สามารถกรองออกไปทางปัสสาวะ) ก่อตัวขึ้นรอบๆเยื่อบุหัวใจ
– มีอาการหายใจสั้นถ้าของเหลวก่อตัวขึ้นในปอด
– ความดันโลหิตสูง
สัญญาณ และอาการของโรคไตวายเรื้อรังอาจไม่ปรากฏหรือไม่ชัดเจนกว่าไตจะมีความเสียหายในระยะที่รุนแรงแล้ว
สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง
โรคไตวายเรื้อรังจะเกิดขึ้นเมื่อเป็นโรคที่ส่งผลกระทบกับไต หรือไตมีการทำงานบกพร่องที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับ
อาการจะแย่ลงเรื่อยอาจใช้ระยะเวลาหลายเดือน หรือเป็นปีกว่าที่อาการจะปรากฏชัด โดยมีสาเหตุมาจาก
– โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2
– หน่วยไตอักเสบ ,การอักเสบของหน่วยกรองไต
– โรคไตอักเสบ ,การอักเสบของท่อไตและบริเวณรอบๆ
– โรคถุงน้ำในไต
– ระบบทางเดินปัสสาวะมีการอุดตันเป็นเวลานาน อาจเกิดจาก ต่อมลูกหมากโต นิ่วในไต และโรคมะเร็งบางชนิด
– โรคปัสสาวะไหลย้อนกลับ (Vesicoureteral) ทำให้ปัสสาวะไหลย้อนกลับขึ้นไปที่ไต
– กรวยไตอักเสบ
ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง มีดังนี้
– โรคเบาหวาน
– โรคความดันโลหิตสูง
– การสูบบุหรี่
– ความอ้วน
– คอเลสเตอรอลสูง
– มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
– อยู่ในวัยผู้สูงอายุ โดยมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไตวายเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรังเป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายเกือบทุกส่วน โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้
– ร่างกายมีการกักเก็บของเหลว ซึ่งอาจนำไปสู่อาการบวมในแขนและขา ความดันโลหิตสูง หรือมีอาการบวมน้ำที่ปอด
– ระดับโพแทสเซียมในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน (ภาวะโพแทสเซียมสูง) ซึ่งอาจทำให้หัวใจสูญเสียความสามารถในการ
ทำงาน หรือการทำงานของหัวใจลดลงซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
– โรคหัวใจ และหลอดเลือด
– กระดูกอ่อนแอ และมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะกระดูกหัก
– โรคโลหิตจาง
– แรงขับทางเพศลดลง หรือไร้สมรรถภาพทางเพศ
– ระบบประสาทส่วนกลางเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการชัก
– การตอบสนองของภูมิคุ้มกันลดลง ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
– เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
– ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงสำหรับแม่และทารก
– ไตเกิดความเสียหายที่ไม่สามารถรักษาให้เป็นปกติได้ (โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย) จะต้องมีการฟอกไต ล้างไตอยู่เสมอ
หรือการปลูกถ่ายไตเพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อไป
การป้องกันโรคไตเรื้อรัง
– ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะหรือไม่ดื่มเลย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ(65 ปีขึ้นไป) ควรดื่มไม่เกินวันละสองแก้ว
– เมื่อมีการใช้ยาแก้ปวดควรปฏิบัติตามคำแนะนำเภสัชกร หรือบนฉลากยา แต่ถ้าป่วยเป็นโรคไตควรหลีกเลี่ยงยาเหล่านี้
– ควบคุมน้ำหนักเพื่อสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
– ไม่สูบบุหรี่
– ปรึกษาแพทย์หากมีโรค หรือภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง
การดำเนินชีวิต และการดูแลสุขภาพหลังรับการรักษา
– หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีการใส่เกลือ รวมทั้งอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป และอาหารจานด่วน อาหารอื่น ๆ ที่มีเกลือ
รวมถึงขนมมขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม ผักกระป๋อง เนื้อสัตว์แปรรูป และชีส
– เลือกอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิ้ล กะหล่ำปลี แครอท ถั่วเขียว องุ่นและบลูเบอร์รี่ เป็นต้น หลีกเลี่ยงอาหาร
ที่มีโพสเซียมสูง ได้แก่ กล้วย ส้ม มันฝรั่ง ผักขม และมะเขือเทศ
– จำกัดปริมาณโปรตีนที่กินในแต่ละวัน อาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมันไข่นมชีส และถั่ว